วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม

การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม

วัตถุประสงค์การศึกษา 

1.ทราบถึงส่วนประกอบของสินค้าคงเหลือของกิจการอุตสาหกรรม
2.สามารถบันทึกบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรมได้
3.สามารถจัดทำงบต้นทุนผลิต  งบกำไรขาดทุน  และงบดุล  ของกิจการอุตสาหกรรมได้

สินค้าคงเหลือของกิจการอุสาหกรรม
    ในการดำเนินธุรกิจผลิตสินค้า  สินค้าคงเหลือของกิจการมีความหลากหลายมากกว่ากิจการซื้อขายสินค้า  สินค้าคงเหลือของกิจการอุตสาหกรรม  ประกอบด้วย

1.วัตถุดิบ  (Raw  Material)
หมายถึง  วัตถุดิบซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป  วัตถุดิบจะเป็นสินค้าคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี

2.งานระหว่างทำ  (Work  In  Process) 
หมายถึง  วัตถุดิบที่ยังอยู่ระหว่างกระบวนการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป  ซึ่งยังผ่านกระบวนกรผลิตไม่ครบถ้วน  เป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิต  เมื่อสิ้นงวดบัญชีจะถือว่างานระหว่างทำเป็นสินค้าคงเหลือของกิจการด้วย

3.สินค้าสำเร็จรูป  (Finish  Goods) 
หมายถึง  วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการผลิตทั้งหมดจนกลายเป็นสินค้าที่พร้อมจะนำไปจำหน่ายได้แล้ว 

4.วัสดุโรงงาน  (Factory  Supplies)
หมายถึง  วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป  เช่น  ด้ายที่ใช้ในการเย็บเสื้อผ้า  เป็นต้น

ต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป  (Cost of  Goods  Manufactured)
ต้นทุนของการผลิตสินค้าสำเร็จรูปแบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ

1.วัตถุดิบทางตรง  (Direct  Materials)
2.ค่าแรงงานทางตรง  (Direct  Labor)
3.ค่าใช้จ่ายในการผลิต  (Overhead)

วัตถุดิบทางตรง  (Direct  Materials)
หมายถึง  วัตถุดิบหลักที่กิจการนำมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป  เช่น  การตัดเสื้อผ้า วัตถุดิบทางตรงคือ  ผ้า

ค่าแรงงานทางตรง  (Direct  Labor)
หมายถึง  ค่าจ้างแรงงานคนงานที่ทำหน้าที่โดยตรงในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป  เช่น  ค่าแรงคนงานเย็บเสื้อผ้า

ค่าใช้จ่ายในการผลิต  (Overhead)
หมายถึง  ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้กระบวนการผลิตเสร็จสมบูรณ์  เช่น  ค่าน้ำค่าไฟฟ้าโรงงาน  ค่าเช่าโรงงาน  ค่าเสื่อมราคาโรงงาน  เป็นต้น

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

กิจการอุตสาหกรรมมีขั้นตอนในการบันทึกบัญชีโดยเริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้าจนถึงการจำหน่ายสินค้า  ซึ่งมีวิธีการบันทึกบัญชี  ดังนี้

1.การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ

รายการค้า
การบันทึกบัญชี
1.  เมื่อซื้อวัตถุดิบ
Dr.ซื้อวัตถุดิบ


Cr.เงินสด/เจ้าหนี้
2.  เมื่อส่งคืนวัตถุดิบ
Dr.เงินสด/เจ้าหนี้


Cr.ส่งคืนวัตถุดิบ
3.  เมื่อเบิกวัตถุดิบทางตรงไปใช้ในการผลิต
ไม่มีการบันทึกบัญชีเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในบัญชีย่อย
4.  เมื่อมีการซื้อวัสดุโรงงาน
Dr.วัสดุโรงงาน


Cr.เงินสด/เจ้าหนี้
5.  เมื่อเบิกวัสดุโรงงานไปในใช้ในการผลิต
ไม่มีการบันทึกบัญชีเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในบัญชีย่อย
6.  เมื่อมีการจ่ายค่าขนส่งวัตถุดิบที่ซื้อ
Dr.ค่าขนส่งวัตถุดิบ
               Cr.เงินสด
7.  เมื่อมีการจ่ายชำระหนี้และได้รับส่วนลด
Dr.เจ้าหนี้
                Cr.เงินสด
                     ส่วนลดรับ

2.การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน

รายการค้า
การบันทึกบัญชี
1.  เมื่อมีการคิดค่าแรงงาน
Dr.ค่าแรงงาน


Cr.คาแรงงานค้างจ่าย
2.  เมื่อจำแนกค่าแรงงาน
Dr.ค่าแรงงานทางตรง
    ค่าแรงงานทางอ้อม


Cr.ค่าแรงงาน
3.  เมื่อจ่ายค่าแรงงาน
Dr.ค่าแรงงานค้างจ่าย


Cr.เงินสด

3.การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการผลิต

รายการค้า
การบันทึกบัญชี
เมื่อมีค่าใช้จ่ายในการผลิตต่าง ๆ เกิดขึ้น
Dr.ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่าง ๆ
               Cr.เงินสด/ธนาคาร/บัญชีปรับปรุงต่าง ๆ