จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
“ชำนาญ เกี่ยวกับ เรื่องการเรียนการสอน
อาจทำงานในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทำการวิจัย ศึกษาเรื่องการเรียนรู้มนุษย์”
จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology) คือ
ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต)
, กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) ,
อารมณ์,
บุคลิกภาพ,
พฤติกรรม,
และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ
ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา,
การจ้างงานเป็นต้น)
และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต
นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ
ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม
ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/
พฤติกรรม ในที่นี้จะขอทบทวนสักเล็กน้อยว่าความหมายของคำว่า
“พฤติกรรม” เราหมายถึงการกระทำที่แสดงออกมาโดยสังเกตเห็นได้
หรือสามารถใช้เครื่องวัดได้
ในทางจิตวิทยาเราจะแยกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าอินทรีย์และการตอบสนองออกมาในรูปแบบเช่นนี้
คือ สิ่งเร้า > อินทรีย์ > การตอบสนอง