วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ การทำงานภายในคอมพิวเตอร์ และรวมไปถึงการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ที่เกิดต่อจากศาสตร์ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นศาสตร์ที่ถือว่าใหม่ หลังจากที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ถือกำเนิดขึ้นรวมกลางทศวรรษที่ 1930 และพัฒนามาเรื่อยจนราวทศวรรษที่ 1960 มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้งานทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ซึ่งถือเป็นช่วงที่วิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้น ในประเทศไทยนั้น ศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์มีบทบาทตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 1980 ศาสตร์ด้านนี้จะศึกษาในแนวลึกในเชิงทฤษฏี โดยจะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานด้านต่างๆ
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เราเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นรากฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นด้านการใช้งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นทฤษฏีและหลักการ วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ผสมผสานระหว่าง ศาสตร์ด้านไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์หลายแขนง เช่น ตรรกศาสตร์ สถิติ เรขาคณิต รวมเทคนิคหรืออัลกอริธึมในการเขียนโปรแกรม
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก วิทยาการใหม่ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน โดยคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น มีการคิดวิธีการคำนวณใหม่ๆ ทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีการคิดคอมพิวเตอร์ประเภทใหม่ๆ หรือสถาปัตยกรรมใหม่ๆ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายร้อยหลายพันตัวให้คำนวณหรือทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบที่เร็วขึ้นหรือถูกต้องมากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการศึกษาหลักการหรือวิธีการ ในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์คหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิธีการในการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น หลักการวางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผลผลิตในโรงงาน หลักการควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังคิดหลักการ ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานระดับสูงอื่นๆ เช่น งานด้านชีววิทยา เพื่อหารหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต งานด้านการแพทย์เพื่อควบคุมดูแลประวัติของผู้ป่วยและพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคอัตโนมัติ งานด้านฟิสิกส์ เคมี เพื่อสร้างแบบจำลองหรือโมเดลก่อนทำการทดลองจริง

คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (ubiquitous) คือมีคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการนำมาใช้ในปัญหาที่ซับซ้อน และหลักการสร้างระบบหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่จะเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นจะช่วยเราค้นหาคำตอบในสิ่งเหล่านี้ได้