วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ส่วนประสมการตลาด

ส่วนประสมการตลาด
         ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) คือ เครื่องมือหรือปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ที่ธุรกิจต้องใช้ร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย หรือเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความต้องการสินค้าและบริการของตน ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ประการ หรือ4P’s คือ
1. ผลิตภัณฑ์(Product)
2. ราคา (Price)
3. สถานที่จำหน่าย (Place)
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
กลยุทธ์ส่วนประกอบการตลาด”    (Marketing mix strategv)
ส่วนประสมการตลาด หมายถึง กลุ่มเครื่องมือการตลาดซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรณลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดในตลาดเป้าหมายเครื่องมือการตลาด 4 ประการ ได่แก่
  1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) ผลิตภัณฑ์หมายถึง สิ่งที่นำเสนอกับการตลาดเพื่อความสนใจ(attcntion) ความอยากได้ (Acquistion) การใช้ (Using) หรือการบริโภค (Consumtion)
ที่สามารถตอบสนองความต้องการ นักการตลาดจึงกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆคือ
-         ขนาดรูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติอะไรบ้างที่ผลิตภัณฑ์ควรมี
-         ลักษณะการบริการที่สำคัญของผู้บริโภคคืออะไร
-         การรับประกันและโปรแกรมการให้บริการอะไรบ้างที่ควรจัดให้
-         ลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบที่เกี่ยวข้องคืออะไร
      2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price strategy) ราคาหมายถึง สิ่งที่บุคคลจ่ายสำหลับสิ่งที่ได้มา ซึ่งแสดงถึงในรูปของเงิน นักการตลาดต้องตัดสินใจในราคา ลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค มูลค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าต้องมากกว่าต้นทุน (Cost) หรือราคา (Price)ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อก็ต่อเมื่อ มูลค่ามากกว่าราคาสินค้า
    3. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย (Place or distribution strategy) การจัดจำหน่าย หมายถึงการเลือกและการใช้ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด ประกอบด้วย คนกลาง บริษัทขนส่ง และบริษัทเก็บรักษาสินค้า ดังนี้โดยสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา สถานที่  ความเป็นเจ้าของ ที่เพื่อให้เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ หรือจากองค์กรไปยังตลาด กาจัดจำหน่ายได้รับ อิทธิพลจากพฤติกรรมผู้บริโภคดังนี้
-       ความจำเป็นของบริษัทที่จะทำการควบคุมกิจกรรมต่าง
-      ลักษณะโครงสร้างการจัดจำหน่าย เพื่อการค้าปลีก อะไรบ้างที่ควรใช้ในการเสนอขาย   ผลิตภัณฑ์
4. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion strategy) การส่งเสริมการตลาดหมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อ ได้แก่  
-     การโฆษณา
-     การประชาสัมพันธ์
-     การขายโดยพนักงานขาย
-     การส่งเสริมการขาย
-     การตลาดทางตรง
การโฆษณา (Advertising)
               คือ การเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ เพื่อให้ เข้าถึงลูกค้าจํานวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว สื่อโฆษณาที่สําคัญประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์ นิตยสารป้ายโฆษณา
ประเภทของการโฆษณ
1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
     1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
     1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
     2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
     2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
     2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
     2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium)
     3.1 ทางโทรทัศน์
     3.2 ทางวิทยุ
     3.3 ทางนิตยสาร
     3.4 โดยใช้จดหมายตรง
     3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose)
     4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน 
     4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า

     4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้