วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรม

การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรม

     อุตสาหกรรม  เป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  แทนคำภาษาอังกฤษ  คือ Industry  และให้หมายถึง  การทำของขึ้นมาให้เป็นสินค้า  นั่นคือ  การแปรรูปวัตถุดิบเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์  หรือบริการในเชิงการค้า  ทำให้เกิดผลออกมามีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Value added)
       ประเทศไทยมีนโยบายเน้นการพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่  จึงก่อให้เกิด  โรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท  กระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ  มีการผลิตหรือการแปรสภาพของวัสดุสิ่งของ  ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า  ซึ่งพอสรุปประเภทอุตสาหกรรมตามขั้นตอนการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
       1.1  ประเภทอุตสาหกรรมที่แบ่งตามลักษณะวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต
       1.2  ประเภทอุตสาหกรรมที่แบ่งตามกรรมวิธีหรือกระบวนการผลิต
       1.3  ประเภทอุตสาหกรรมที่แบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

1.1  ประเภทอุตสาหกรรมที่แบ่งตามลักษณะวัสดุที่นำมาใช้ผลิตแบ่งออกได้เป็น 3 พวก  คือ

ประเภทอุตสาหกรรม
ความหมาย
ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้
1.1.1  อุตสาหกรรมขั้นปฐมหรือขั้นพื้นฐาน  (Primary  Industry)
     อุตสาหกรรมที่นำเอาทรัพยากรธรณี  หรือผลิตผลทางการเกษตร  การประมง  การเลี้ยงสัตว์ที่ได้มาโดยตรงเป็นวัตถุดิบ
   การขุดแร่  การขุดน้ำมัน  และแก๊สธรรมชาติ  การแปรรูปไม้ การหีบฝ้าย  การทำน้ำตาล  การทำหนังแห้ง 
การสีข้าว  การสกัดน้ำมันพืช นมและผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็ง ธัญพืช  อาหารสัตว์
1.1.2  อุตสาหกรรมขั้นทุติยะ(Secondary  Industry)
   อุตสาหกรรมที่นำเอาผลิตผลจากอุตสาหกรรมขั้นปฐมมาเป็นวัตถุดิบเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปอื่น ๆ ต่อไป
กลั่นน้ำมัน  การเอาสินแร่มาถลุงเป็นโลหะ  ปั่นด้าย  
ทำน้ำตาลทรายฟอกขาว 

1.2  ประเภทอุตสาหกรรมที่แบ่งตามกรรมวิธีหรือกระบวนการผลิตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

ประเภทอุตสาหกรรม
ความหมาย
ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้
1.2.1  อุตสาหกรรมในเชิงสกัด(Extraction Industry)
  อุตสาหกรรมที่มีกรรมวิธีการผลิตโดยใช้การสกัดเอาสิ่งที่ต้องการออกมาจากวัตถุดิบเป็นสำคัญ
   การสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร  การสกัดน้ำมันจากรำ  เมล็ดฝ้าย  เมล็ดนุ่นมะพร้าว,  ผลปาล์ม  การทำนาเกลือ
การเพาะปลูก  การป่าไม้ 
การย่อยหิน  การทำสารส้ม
1.2.2  อุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมโรงงาน(Manufacturing)
   อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตสินค้าสำหรับออกจำหน่ายโดยมีสถานที่ทำการผลิตที่เรียกว่า  โรงงาน  เป็นการนำเอาวัตถุดิบมาปรุงแต่ง ดัดแปลง  แปรสภาพด้วยแรงงานมนุษย์  หรือเครื่องจักรกล  เพื่อเปลี่ยนสภาพมาเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค
   การผลิตรองเท้า  รถยนต์ การทำเยื่อกระดาษ  ผลิตสุรา หรือแอลกอฮอล์  ผลิตยาและเวชภัณฑ์  ทำอาหารกระป๋อง ปั่นด้าย  ทอผ้า  สร้างเครื่องจักร  และยังรวมถึงเครื่องหัตถกรรม
1.2.3  อุตสาหกรรมขนส่งและบริการ (Service Industry)
   การประกอบธุรกิจด้านการให้บริการหรืออำนวยความสะดวก
   การขนส่ง  การโรงแรม  การจัดทัศนาจร  การท่องเที่ยว การค้าขาย  การธนาคาร  การโทรคมนาคม  การไปรษณีย์

1.3  ประเภทอุตสาหกรรมที่แบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแบ่งเป็น 3 ประเภท

ประเภทอุตสาหกรรม
ความหมาย
ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
1.3.1  อุตสาหกรรมหนัก(Heavy Industry)
   อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกล  แรงงาน  และเงินจำนวนมาก  ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักมาก  ปกติมักใช้โลหะที่มีน้ำหนักมาก เช่น  เหล็ก  ทองแดง  เป็นวัตถุดิบ
   เหล็กกล้า  การทำเหล็กเส้น เหล็กแผ่น  การทำสายไฟฟ้า การต่อเรือ  การสร้างรถไฟ ภาพยนตร์  เครื่องจักรกล 
การสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์  อุตสาหกรรมเคมี
1.3.2  อุตสาหกรรมเบา (Light Industry)
   อุตสาหกรรมที่ดำเนินการเอาวัตถุดิบอันเป็นผลจากอุตสาหกรรมหนักมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์  หรือผลิตสิ่งของเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา  เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องใช้ทุนมากนัก
   การทอผ้า  การทำอาหารกระป๋อง  การทำยาและการทำเครื่องเวชภัณฑ์ 
การทำอลูมิเนียม  การผลิตเครื่องวิทยุ  เครื่องโทรทัศน์ การผลิตเครื่องเด็กเล่น  สิ่งทอและการผลิตแป้งชนิดต่าง ๆ
1.3.3  อุตสาหกรรมในครอบครัว (Home or Cottage Industry)
   กิจการที่ทำกันขึ้นภายในครอบครัวหรือภายในครัวเรือน  มักจะเป็นประเภทหัตถกรรม  ถ้าจะมีการใช้เครื่องจักรบ้างก็ขนาดเล็ก ผลิตใช้เองในครอบครัว เหลือจึงจำหน่ายเป็นอาชีพ
   การทำร่ม  การจักสาน  
การทอผ้าไหม  การแปรรูปอาหาร  เครื่องปั้นดินเผา 
ผลิตภัณฑ์โอท๊อปประจำจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับ 3 ดาวถึง 5ดาว