วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

นักศึกษาสาขาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลำพูน

นักศึกษาสาขาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลำพูน


วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557
นักศึกษาสาขาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า – สาขาอิเล็กทรอนิคส์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดลำพูน ในหัวข้อเรื่องงานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น และมีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมโรงฝึกปฏิบัติการไฟฟ้า ของศูนย์ฝึกฯ
โดยทั้งนี้ มีวิทยากรจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานให้การต้อนรับและกล่าวบรรยาย  ณ ห้องประชุมอาคาร 7 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดลำพูน
โดยมีอาจารย์ศุภกาล  ตุ้ยเต็มวงศ์ และอาจารย์สิทธิศักดิ์  ยี่ยวน เป็นผู้ควบคุมคณะนักศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา งานเชื่อมและโลหะเบื้องต้น
ข่าวโดย : ฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา
ภาพ : อาจารย์สิทธิศักดิ์  ยี่ยวน

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

นักศึกษาสาขาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดลำพูน

วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ แนะแนวการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 3 ณ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557  เวลาประมาณ 13.00 น.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันชาติ  สุวัตถี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ  , อาจารย์ศุภกาล  ตุ้ยเต็มวงศ์ หัวหน้างานกิจการนักศึกษา และอาจารย์สิทธิศักดิ์  ยี่ยวน
แนะแนวการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบัน รวมถึงใช้ชีวิตความเป็นอยู่ภายในมหาวิทยาลัยฯ
โดยได้เดินทางไปแนะแนวยังโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่  และมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 3 เข้ารับฟังการแนะแนวในครั้งนี้
ซึ่งตัวแทนนักศึกษาวิทยาลัยฯ เตรียมวิศวกรรมศาสตร์และเตรียมสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1  และเป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่น้องๆ นักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อีกด้วย
ข่าวโดย : ฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา
ภาพ : อาจารย์สิทธิศักดิ์  ยี่ยวน

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

เรียนต่อด้านไหนได้บ้างคำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gif
จบสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิคหรืองานวิจัย ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และด้านที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifจบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่
ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น

ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
       หลังจบสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการ และเนื่องจากวิทยาการคอมพิวเตอร์เน้นการศึกษาด้านหลักการและวิธีการ ดังนั้นนักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงลึก ซึ่งทำให้สามารถทำงานในระดับสูงหรืองานด้านการวิจัยและพัฒนาได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานที่เกี่ยวกับการโปรแกรมและการออกแบบสร้างซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการ ก็สามารถไปศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือการลงทุน โดยการเรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ ตรงที่นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ ซึ่งทำให้การทำงานด้านการบริหารจัดการก็จะง่ายและมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพด้านการจัดการที่เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการจัดการทำให้สามารถทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการดังนี้
1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
2. งานด้านการจัดการหรืองานให้คำปรึกษา
ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ
ผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ

ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านระบบคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร

วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

วิทยาการคอมพิวเตอร์เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิทยาการคอมพิวเตอร์เรียนเกี่ยวกับอะไร
ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และรวมไปถึงการศึกษาในเชิงปฏิบัติเพื่อนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานต่างๆ โดยศึกษาทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ตามหมวดหมู่ดังต่อไปนี้
หลักการหรือทฤษฏีการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอสคิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนและออกแบบซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่จะเขียนด้วย และศึกษาหลักการและการออกแบบระบบขนาดใหญ่
หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และศึกษาหลักการและวิธีการเข้ารหัส และการถอดรหัสคอมพิวเตอร์ ศึกษาการควบคุมความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น
หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง
หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น
หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการทำงานของการคำนวณและการประยุกต์ใช้งานระดับสูง

นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงหลักการที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการคำนวณ ซึ่งเป็นทฤษฏีระดับสูง และศึกษาการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานระดับสูงซึ่งมีความยาก เช่น การประยุกต์ไปใช้งานด้านชีวภาพ การประยุกต์ใช้งานมัลติเมเดียระดับสูง การสกัดความรู้ที่สำคัญและน่าสนใจจากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ การทำงานภายในคอมพิวเตอร์ และรวมไปถึงการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ที่เกิดต่อจากศาสตร์ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นศาสตร์ที่ถือว่าใหม่ หลังจากที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ถือกำเนิดขึ้นรวมกลางทศวรรษที่ 1930 และพัฒนามาเรื่อยจนราวทศวรรษที่ 1960 มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้งานทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ซึ่งถือเป็นช่วงที่วิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้น ในประเทศไทยนั้น ศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์มีบทบาทตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 1980 ศาสตร์ด้านนี้จะศึกษาในแนวลึกในเชิงทฤษฏี โดยจะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานด้านต่างๆ
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เราเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นรากฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นด้านการใช้งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์จะเน้นทฤษฏีและหลักการ วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ผสมผสานระหว่าง ศาสตร์ด้านไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์หลายแขนง เช่น ตรรกศาสตร์ สถิติ เรขาคณิต รวมเทคนิคหรืออัลกอริธึมในการเขียนโปรแกรม
คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก วิทยาการใหม่ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน โดยคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น มีการคิดวิธีการคำนวณใหม่ๆ ทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีการคิดคอมพิวเตอร์ประเภทใหม่ๆ หรือสถาปัตยกรรมใหม่ๆ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายร้อยหลายพันตัวให้คำนวณหรือทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบที่เร็วขึ้นหรือถูกต้องมากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการศึกษาหลักการหรือวิธีการ ในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์คหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิธีการในการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น หลักการวางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผลผลิตในโรงงาน หลักการควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังคิดหลักการ ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานระดับสูงอื่นๆ เช่น งานด้านชีววิทยา เพื่อหารหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต งานด้านการแพทย์เพื่อควบคุมดูแลประวัติของผู้ป่วยและพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคอัตโนมัติ งานด้านฟิสิกส์ เคมี เพื่อสร้างแบบจำลองหรือโมเดลก่อนทำการทดลองจริง

คำอธิบาย: http://www.siit.tu.ac.th/thai/blank.gifในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (ubiquitous) คือมีคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการนำมาใช้ในปัญหาที่ซับซ้อน และหลักการสร้างระบบหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่จะเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นจะช่วยเราค้นหาคำตอบในสิ่งเหล่านี้ได้

การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling)

 การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling)
เป็นการติดต่อสื่อสารทางตรงแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้ขายและลูกค้าที่คาดหวัง" การขายโดยใช้พนักงานขาย ถือเป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication) โดยเน้นในการใช้ความสามารถเฉพาะตัวของพนักงานขายทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของกิจการได้
                เป็นการตลาดที่เน้นการสื่อสารทางตรงระหว่างผู้ขายกับลูกค้า เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าและกระตุ้นให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อ โดยปัจจุบันพนักงานขายจะต้องมีความสามารถรอบด้าน ทั้งในการจูงใจให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้กับลูกค้าได้
การตลาดทางตรง (Direct Marketing)
              เป็นการติดต่อสื่อสารส่วนตัว ระหว่าง นักการตลาด และกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การส่งจดหมายตรงโทรศัพท์ หรือวิธีการอื่นๆ ผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน โดยนักการตลาดสามารถวัดผลการตอบสนองจากผู้บริโภคได้
รูปแบบของสื่อที่ใช้ในการตลาดทางตรง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
                การใช้สื่อโดยตรง เพื่อติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือกแล้ว และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะต้องการสินค้าและบริการ โดยมากจะได้รับการตอบกลับสูงเช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์

                การใช้สื่อมวลชน เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก สร้างฐานข้อมูลลูกค้าให้มากขึ้น เช่น วิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์

การประชาสัมพันธ์

 การประชาสัมพันธ์
หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
1.       การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
2.       การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
3.       การให้ข่าว (News)
4.       การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches) 
 การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
         หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
     1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
     1.2 การลดราคา (Price Off)
     1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
     1.4 การคืนเงิน (Rabates)
     1.5 การให้ของแถม (Premiums)
     1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
    1.7 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion)
     2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
     2.2 ส่วนลด (Discount)
     2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
     2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
     2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
     2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest

3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion)
     3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
     3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
     3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
     3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
     3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

ส่วนประสมการตลาด

ส่วนประสมการตลาด
         ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) คือ เครื่องมือหรือปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ที่ธุรกิจต้องใช้ร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย หรือเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความต้องการสินค้าและบริการของตน ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ประการ หรือ4P’s คือ
1. ผลิตภัณฑ์(Product)
2. ราคา (Price)
3. สถานที่จำหน่าย (Place)
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
กลยุทธ์ส่วนประกอบการตลาด”    (Marketing mix strategv)
ส่วนประสมการตลาด หมายถึง กลุ่มเครื่องมือการตลาดซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรณลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดในตลาดเป้าหมายเครื่องมือการตลาด 4 ประการ ได่แก่
  1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) ผลิตภัณฑ์หมายถึง สิ่งที่นำเสนอกับการตลาดเพื่อความสนใจ(attcntion) ความอยากได้ (Acquistion) การใช้ (Using) หรือการบริโภค (Consumtion)
ที่สามารถตอบสนองความต้องการ นักการตลาดจึงกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆคือ
-         ขนาดรูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติอะไรบ้างที่ผลิตภัณฑ์ควรมี
-         ลักษณะการบริการที่สำคัญของผู้บริโภคคืออะไร
-         การรับประกันและโปรแกรมการให้บริการอะไรบ้างที่ควรจัดให้
-         ลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบที่เกี่ยวข้องคืออะไร
      2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price strategy) ราคาหมายถึง สิ่งที่บุคคลจ่ายสำหลับสิ่งที่ได้มา ซึ่งแสดงถึงในรูปของเงิน นักการตลาดต้องตัดสินใจในราคา ลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค มูลค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าต้องมากกว่าต้นทุน (Cost) หรือราคา (Price)ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อก็ต่อเมื่อ มูลค่ามากกว่าราคาสินค้า
    3. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย (Place or distribution strategy) การจัดจำหน่าย หมายถึงการเลือกและการใช้ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด ประกอบด้วย คนกลาง บริษัทขนส่ง และบริษัทเก็บรักษาสินค้า ดังนี้โดยสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา สถานที่  ความเป็นเจ้าของ ที่เพื่อให้เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ หรือจากองค์กรไปยังตลาด กาจัดจำหน่ายได้รับ อิทธิพลจากพฤติกรรมผู้บริโภคดังนี้
-       ความจำเป็นของบริษัทที่จะทำการควบคุมกิจกรรมต่าง
-      ลักษณะโครงสร้างการจัดจำหน่าย เพื่อการค้าปลีก อะไรบ้างที่ควรใช้ในการเสนอขาย   ผลิตภัณฑ์
4. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion strategy) การส่งเสริมการตลาดหมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อ ได้แก่  
-     การโฆษณา
-     การประชาสัมพันธ์
-     การขายโดยพนักงานขาย
-     การส่งเสริมการขาย
-     การตลาดทางตรง
การโฆษณา (Advertising)
               คือ การเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ เพื่อให้ เข้าถึงลูกค้าจํานวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว สื่อโฆษณาที่สําคัญประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์ นิตยสารป้ายโฆษณา
ประเภทของการโฆษณ
1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
     1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
     1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
     2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
     2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
     2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
     2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium)
     3.1 ทางโทรทัศน์
     3.2 ทางวิทยุ
     3.3 ทางนิตยสาร
     3.4 โดยใช้จดหมายตรง
     3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose)
     4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน 
     4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า

     4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้

ประโยชน์ของกิจกรรมทางการตลาด

 ประโยชน์ของกิจกรรมทางการตลาด 
(1)  อรรถประโยชน์ด้านรูปแบบ (Form Utility) จะเกิดขึ้นจากการผลิตโดยตรง และการ เข้ามาช่วยเสริมโดยการค้นหาถึงความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์โดยให้ข้อมูลแก่ผลฝ่ายผลิต
(2) อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ (Place Utility) การตลาดช่วยอำนวย ความสะดวก ด้านสถานที่ เพราะเป็นกิจกรรมที่นำผลิตภัณฑ์ไปสู่สถานที่ที่ลูกค้าเป้าหมายอยู่
(3) อรรถประโยชน์ด้านเวลา (Time Utility) การตลาดช่วยสร้างอรรถประโยชน์ ด้านเวลาให้กับลูกค้า โดยมีสินค้าพร้อมในเวลาที่ลูกค้าต้องการ
(4) อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ (Possession Utility) การตลาดช่วยสร้างความ พึงพอใจจากการ ได้เป็นเจ้าของสินค้าต่าง ๆ   โดยทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส ได้ซื้อสินค้าและมี กรรมสิทธ์ในสินค้านั้น

(5) อรรถประโยชน์ในด้านภาพลักษณ์ (Image Utility) ตลาดช่วยสร้างคุณค่าหรือ ภาพลักษณ์  ของผลิตภัณฑ์ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การใช้การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

ความสำคัญของการตลาด

 ความสำคัญของการตลาด
                   การตลาดมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในสังคม ทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นระบบในสังคมมนุษย์แต่ละคน สามารถประกอบ อาชีพที่ ตนเองถนัดและได้ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลได้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ และการตลาดมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อความเจริญเติบโต และพัฒนาการทางเศรษฐกิจของ ประเทศ เนื่องจากการตลาดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาหาสิ่งแปลกใหม่ มาสนองความ ต้องการของตลาดและสังคม ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้หลายทางและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค จึงมีผลทำให้เกิด การจ้างงาน เกิดรายได้กับแรงงาน และธุรกิจ ทำให้ประชาชน  มีกำลังการซื้อ และสามารถสนอง ความต้องการในการบริโภค ซึ่งทำให้ มาตรฐาน การครองชีพของบุคคล ในสังคมมีระดับสูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ความสำคัญ ของการตลาดอาจกล่าวได้ดังนี้
                   1.  การตลาดเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน  การดำเนินการตลาดของธุรกิจจะทำให้ผู้ผลิตกับผู้บริโภคเข้ามาใกล้กัน และสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค จนทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนในระดับผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความพึงพอใจ การตลาดยังไม่ได้เป็นเพียง เครื่องมือทำให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องมือที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความซื่อสัตย์ภักดีต่อผลิตภัณฑ์   ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้ หรือซื่อซ้ำเมื่อมี ความต้องการ
                   2.  การตลาดเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค การดำเนินการทางการตลาดทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองและสร้างความ พึงพอใจให้กับผู้บริโภคได้ ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ สถานภาพ ของผู้บริโภคด้วยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปริมาณ ในเวลา ในสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ ในราคา ที่ผู้บริโภคมีกำลังการซื้อ และโอนความเป็นเจ้าของได้ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค    นอกจากจะดำเนินการในหน้าทางการตลาด ให้เกิดการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในเรื่องดังกล่าว สิ่งที่สำคัญจะต้องกระทำอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในกิจกรรมดังกล่าว  
                   3.  การตลาดเป็นตัวผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์     ด้วยแนวคิด ของการตลาด  ในการมุ่งสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค และรับผิดชอบต่อสังคม ผลักดันให้ผลิตต้องพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ์ให้ตรงต่อความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค  ตลอดจนจูงใจผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และการตลาดระบบการตลาดเสรี ซึ่งมีการแข่งขันกันมากในการสร้าง ความพึงพอใจ และจูงใจผู้บริโภค จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุง ผลิตภัณฑ์เพื่อการแข่งขัน ในตลาดเสรี
                   4.  การตลาดเป็นกลไกในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ   ด้วยการก่อให้เกิดการบริโภคและการพึ่งพากันอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับ
ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การสร้างความต้องการและการสนองความต้องการในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ คือเกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ เกิดการบริโภค และเกิดการใช้แรงงาน ซึ่งจะมีการพึ่งพากันและเชื่อมโยงไหลเวียนตามลำดับอย่างเป็นระบบ ผลจะทำให้การดำรงชีวิต ของมนุษยชาติในสังคมอยู่ในระดับที่มีการกินดีอยู่ดี มีความเป็นอยู่ อย่างเป็นสุขโดยทั่วกัน
ความสำคัญของการตลาดอาจจำแนกให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นโดยพิจารณาจากการตลาดมีความสำคัญ   ต่อสังคมและบุคคลดังนี้
          1.ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมให้สูงขึ้น
         2.ทำให้พฤติกรรม อุปนิสัย ความเชื่อ ค่านิยมและลักษณะการดำรงชีพของบุคคล ในสังคมเปลี่ยนไป
         3.เกิดอาชีพต่าง ๆ แก่บุคคลในสังคมเพิ่มมากขึ้น
 นอกจากความสำคัญต่อบุคคลและสังคมแล้ว การตลาดยังมีความสำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจโดยตรงดังนี้
          1.ช่วยให้รายได้ประชากรสูงขึ้น
          2.ทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต
         3.ช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ
        4.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเศรษฐกิจ
       5.ให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ

ตลาดตามความหมายของนักธุรกิจหรือนักการตลาด

ตลาดตามความหมายของนักธุรกิจหรือนักการตลาด

          ตลาด คือ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีความคิดที่จะซื้อสินค้า มีอำนาจซื้อ และมีความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ

ตลาดตามความหมายของบุคคลทั่วไป

ตลาดตามความหมายของบุคคลทั่วไป

          ตลาด หมายถึง สถานที่ ที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ผู้ซื้อผู้ขายจะไปตกลงซื้อขายสินค้ากัน

ความหมายของการตลาด

ความหมายของการตลาด
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดของคำว่า"Marketing"ไว้ดังนี้
          การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่างๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้นๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
         องค์ประกอบของการตลาด
         1.มีสิ่งที่จะโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ คือ สินค้าหรือบริการ
         2.มีตลาด คือ ผู้ชื้อที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
         3.มีผู้ขายสินค้าหรือบริการ

         4.มีการแลกเปลี่ยน

จิตวิทยาการแนะแนว

จิตวิทยาการแนะแนว
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)
บริการแนะแนว
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ
ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม
ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)  ปกติ ,กลุ่มเสี่ยง
3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ
4. การป้องกันและแก้ปัญหา  ( ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา )

5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา

ลำดับขั้นของการเรียนรู้

ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์     (2) ความเข้าใจ     (3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า ความเข้าใจ
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
อ้างอิงจาก : http://tupadu.multiply.com/journal/item/1

จิตวิทยาการเรียนรู้

จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์  (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้
“…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…”
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า “No one too old to learn” หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล

4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย

แนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

แนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ 
1.กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism)
ผู้นำกลุ่มความคิดนี้คือ วิลเฮล์ม วุนต์ แนวคิดนี้สนใจศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าวของจิตสำนึกของมนุษย์ โดยมีแนวคิดว่าจิตสำนึกของมนุษย์ประกอบด้วย ธาตุทางจิต 3 ชนิดคือ การรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการ โดยในการศึกษาจิตธาตุทั้ง 3 ชนิด จะใช้วิธีพิจารณาภายใน ซึ่งไม่เป็นวิทยาศาสตร์เพราะข้อมูลที่ได้จากการรายงานความรู้สึกของผู้ถูก ศึกษามีความเป็นอัตนัยสูง
2.กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)
แนว คิดของกลุ่มหน้าที่ทางจิตให้ความสำคัญกับวิธีการทีมนุษย์ใช้ในการปรับตัว เข้ากับสิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ให้ความเห็นว่า จิตเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหา เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ใช้ในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักจิตวิทยาในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับพฤติกรรม
3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
จอห์น บี วัตสัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้นำแนวคิดที่สำคัญที่เสนอให้มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกต และมองเห็นได้ ซึ่งจัดว่าเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้วัตสันได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยใหม่ แนวคิดของพฤติกรรมนิยมเน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้มากระทบอินทรีย์ ทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง นักคิดในกลุ่มนี้จึงมักศึกษาพฤติกรรมต่างๆด้วยวิธีการทดลองและใช้การสังเกตอย่างมีระบบจากการทดลอง โดยสรุปว่าการวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและถ้าเรารู้สาเหตุของพฤติกรรมเราก็จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้
จอห์น บี วัตสัน (1878 – 1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันและผู้ก่อตั้งสำนักพฤติกรรมนิยม (behaviorism)
4. กลุ่มเกสตอลท์ (Gestalt Psychology)
Wertheimer,Maxz ผู้นำกลุ่มเกสตอลท์
กลุ่มเกสตอลท์ เป็นกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาที่ตั้งขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมันเพื่อโต้แย้งกลุ่มทางจิตกลุ่มอื่น โดยมีแนวคิดว่าการศึกษาจิตสำนึกนั้นจะต้องศึกษาจากการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งจะมุ่งความสนใจไปที่หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดระบบการรับรู้ของมนุษย์และจากการศึกษาพบว่ามนุษย์จะรับรู้ส่วนรวมของสิ่งเร้ามากกว่าเอาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งเร้านั้นมารวมกัน นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้แล้ว นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้น กำเนิดของการพัฒนาจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ
5.กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ผู้นำแนวคิดของกลุ่มนี้ได้แก่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ โดยเชื่อว่าพฤติกรรม ทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจากพลังที่อยู่ในจิตไร้สำนึก จิตส่วนนี้จะรวบรวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของจิตไม่ต้องการหรือปรารถนาที่จะจดจำ จึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ให้ลงอยู่ในจิตส่วนนี้ อย่าง ไรก็ตามหากความต้องการหรือความรู้สึกต่างๆ ที่บุคคลเก็บกดไว้ยังมีพลังอยู่ ถ้าเกิดมีสิ่งใดมากระตุ้นขึ้น พลังนี้ก็จะแสดงอิทธิพลทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่รู้สึกตัว นอก จากนี้นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังเชื่ออีกว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจาก พลังที่อยู่ในจิตไร้สำนึก ความคิดเช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากในตอนแรก ๆ แต่ในเวลาต่อมาหลักการทางจิตวิเคราะห์ได้รับการยอมรับโดยการนำไปใช้ในวงการ ของจิตแพทย์หรือการบำบัดรักษาอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1865 – 1539)
6. กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
การรู้การคิด (Cognition) หมายถึง กระบวนการทางจิตซึ่งทำการเปลี่ยนข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสไปในรูปแบบต่างๆ กระบวนการนี้ทำหน้าที่ตั้งแต่ลดจำนวนข้อมูล (Reduced) เปลี่ยนรหัส(Code) และส่งไปเก็บไว้ (Store) ในหน่วยความจำและรื้อฟื้นเรียกคืน (Retrieve) มาได้เมื่อต้องการ การรับรู้ จินตนาการ การแก้ปัญหา การจำได้ และการคิด คำเหล่านี้ล้วนอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆ เมื่อเกิดการรู้-การคิด นักจิตวิทยากลุ่มนี้คัดค้านว่ามนุษย์เรามิได้เป็นเพียงแต่หน่วยรับสิ่งเร้า ที่อยู่เฉยๆ เท่านั้น แต่จิตจะมีกระบวนการสร้างข้อสนเทศขึ้นใหม่หรือชนิดใหม่ การ ตอบสนองของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานของจิตในการประมวลผลข้อมูล และเมื่อมีข้อมูลใหม่หรือประสบการณ์ใหม่การตอบสนองก็เปลี่ยนไปได้

7. กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987)
จิตวิทยา กลุ่มมนุษย์นิยมพัฒนาขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1940 โดยเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ได้ดีขึ้นด้วยการศึกษาถึง การรับรู้ของบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง ความคิดส่วนตัวที่เขามีต่อบุคคลอื่นและโลกที่เขาอาศัยอยู่ และยังมีความเชื่อว่า มนุษย์ เรามีคุณลักษณะที่สำคัญที่ทำให้เราแตกต่างไปจากสัตว์คือมนุษย์เรามีความมุ่ง มั่นอยากที่จะเป็นอิสระ เราสามารถกำหนดตัวเองได้และเรามีพลังจูงใจ (Motivational Force) ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ระดับที่สมบูรณ์ขึ้น ที่แสดงถึงความเป็นจริงแห่งตน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ให้เต็มที่ (Self Actualization)