วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทำงานของทรานซิสเตอร์



              ในที่นี้จะยกตัวอย่างทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  เมื่อทำการให้ไบอัสแก่ทรานซิสเตอร์ โดยให้ไบอัสตรงกับรอยต่อเบส-อิมิตเตอร์ และไบอัสกลับกับรอยต่อเบส-คอลเล็กเตอร์ อิเล็กตรอนซึ่งเป็นพาหะส่วนใหญ่ในสาร N ของอิมิเตอร์จะไหลเข้าสู่โฮลของเบส ทำให้เกิดกระแสไหลเรียกว่ากระแสเบส (IB) แต่เนื่องจากชิ้นสารกึ่งตัวนำของเบสเป็นชิ้นบาง ๆ จึงทำให้กระแสส่วนนี้มีไม่มาก ดังนั้นพาหะส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอนที่มาจากอิมิตเตอร์ จึงไหลทะลักไปยังคอลเล็กเตอร์ เนื่องจากได้รับแรงดันไบอัส และจำนวนโฮลในคอลเล็กเตอร์ซึ่งแม้จะเป็นพาหะส่วนน้อย แต่ก็มีจำนวนมากพอ (ตามการโด๊ปสารของชิ้นสารคอลเล็กเตอร์ ดังกล่าวข้างต้น) จึงทำให้เกิดกระแสในส่วนนี้อย่างมากซึ่งเรียกว่า กระแสคอลเล็กเตอร์ (IC) โดยจะมีปริมาณมากกว่า กระแสเบสหลายเท่า
              ดังนั้นจึงเสมือนว่าทรานซิสเตอร์มีความสามารถในการขยายกระแสได้ คือ เมื่อมีกระแสเบสจำนวนเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดกระแสคอลเล็กเตอร์ จำนวนหลายสิบหลายร้อยเท่า  ซึ่งอัตราระหว่างกระแสคอลเล็กเตอร์ กับกระแสเบสดังกล่าวเราเรียกว่า อัตราขยายกระแส
อัตราขยายกระแส = กระแสคอลเล็กเตอร์ / กระแสเบส = IC / IB