วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รีเลย์คืออะไร

รีเลย์คืออะไร?

รีเลย์ (อังกฤษ: relay) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ ทำหน้าที่ ตัด-ต่อวงจร คล้ายกับสวิตซ์ ภายในตัวรีเลย์ประกอบด้วยสองส่วนด้วยกันคือ คอยล์ และหน้าสัมผัส โดยคอยล์จะทำหน้าที่ในการดึงหน้าสัมผัสให้มาแตะกัน โดยใช้สนามแม่เหล็ก ตัวคอยล์จะประกอบด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็ก เมื่อทำการจ่ายไปไปยังขดลวด แกนเหล็กจะกลายเป็นแม่เหล็กดึงหน้าสัมผัสให้มาชนกัน เมื่อไม่มีการจ่ายไฟให้กับขดลวดหน้าสัมผัสจะถูกดึงกลับด้วยสปริง

รีเลย์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีใช้อยู่ใน วงการอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟลำดับที่สอง (secondary switch) โดยมากมักจะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง รีเลย์อาจทำงานด้วยแรงดันต่ำมาก คือ 3 Volt ไปจนถึง 24 Volt

รีเลย์ในรถยนต์ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt และในทางปฏิบัติ เราเลือกใช้รีเลย์สำหรับรถยนต์กับรถยนต์เท่านั้น แม้ว่ารีเลย์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt จะมีอยู่ แต่ไม่นิยมใช้ในรถยนต์ อาจเนื่องจากขาของรีเลย์มีรูปต่างต่างกัน ต้องแปลงขา - แปลงขั้วต่อจนทำให้วุ่นวายเกินเหตุ

รีเลย์ในรถยนต์ทำหน้าที่ดังนี้

รีเลย์ไฟเลี้ยว (แฟลชเชอร์)
รีเลย์ไฟหน้ารถ
รีเลย์พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ
รีเลย์ตู้แอร์(คอยล์)เย็น
ปัมพ์เชื้อเพลิง(ระบบหัวฉีด)
รีเลย์ช่วยสตาร์ท
รีเลย์แตร
อื่นๆ