วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เราสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปใช้งาน

การนำไปใช้งาน

               เราสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปใช้งานได้มากมายในวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์  ไม่ว่าจะเป็นการขยายสัญญาณ  การทำหน้าที่แบบสวิตช์  ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการใช้งานทรานซิสเตอร์เป็นวงจร สวิตช์แสง ดังรูป



              การทำงานของวงจร คือ ในสภาวะมีแสงค่าความต้านทาน ของตัวต้านทานไวแสง(LDR) จะมีค่าต่ำมากทำให้กระแสส่วนใหญ่ไหลผ่านตัวมัน ไม่เข้าสู่ขาเบสของทรานซิสเตอร์  แต่เมื่อแสงมืดลง ค่าความต้านทานของ LDR จะมีค่าเพิ่มขึ้นจนทำให้กระแสส่วนใหญ่ไหลผ่านเบส ทำให้เกิดกระแสคอลเล็กเตอร์ และ LED จะสว่าง  ส่วนตัวต้านทานปรับค่า R2 ใช้ในการปรับความไวในการรับแสงของวงจร  ตัวต้านทาน R1 ใช้จำกัดกระแสที่ไหลผ่าน LED ไม่ให้มีค่าสูงเกินไป

ทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆ
ทรานซิสเตอร์ที่ใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายชนิด ดังนี้
  • ทรานซิสเตอร์สัญญาณต่ำ (Small Signal Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก ใช้ขยายสัญญาณระดับต่ำๆ หรืองานที่การจ่ายกระแสไม่สูง
  • ทรานซิสเตอร์กำลัง (Power Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ขนาดใหญ่ ทนกระแสได้สูง มักใช้ในส่วนของภาคเอาท์พุตของวงจรขยาย หรือใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics)
  • ทรานซิสเตอร์ชนิดทำงานความถี่สูง ทรานซิสเตอร์ประเภทนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในวงจรขยายสัญญาณความถี่สูงๆ เช่นในเครื่องส่ง หรือ เครื่องรับวิทยุ โดยในการผลิตจะทำให้ชิ้นสารเบสให้บางมากๆ เพื่อลงค่าความจุระหว่างรอยต่อซึ่งมีผลกับความถี่
  • โฟโตทรานซิสเตอร์ (Photo Transister) เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีช่องรับแสง โดยจะนำกระแสเมื่อมีแสงมากระทบ