1.จากวงจรด้านบน จะมีกระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้าเกิดขึ้นเท่าใด
วิธีทำ
จากกฎของโอห์ม I = E / R
ดังนั้น I = 20 / 5 = 4 แอมป์
เมื่อ p = E x I = 4 x 20
ดังนั้น P = 80 W
2.จากวงจรไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้า 20 mA ไหลผ่านความต้านทาน 500 โอห์ม จงหากำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับตัวต้านทานนี้
วิธีทำ
จาก P = I2x R
เมื่อ I = 20 mA
R = 500 โอห์ม
ดังนั้น P = (0.02 A)2 x 500
= 0.2 W
ตัวอย่างการคำนวณ พลังงานไฟฟ้า
1. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 750 วัตต์ ใช้งานวันละ 10 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟฟ้าเท่าใด ต่อเดือน (30 วัน)ถ้าคิดค่าไฟฟ้า ยูนิต ละ 1.50 บาท
วิธีทำ
ใช้พลังงานไฟฟ้าไปวันละ = 750 x 10
= 7,500 วัตต์ – ชั่วโมง
= 7.5 Kw – h
= 7.5 ยูนิต
จะเสียค่าไฟฟ้าวันละ = 1.50 x 7.50
= 11.25 บาท
ดังนั้น เสียค่าไฟฟ้าต่อเดือน = 11.25 x 30 = 337.50 บาท
2.ลวดความร้อนขนาด 220V ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนในอัตรา 1500 J/sจงหาค่ากระแสที่ไหลผ่านลวดนี้
วิธีทำ
จาก W = P x t หรือ W = V x I x t
3. บ้านหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้
a. มอเตอร์ปั๊มน้ำขนาด 1.5 แรงม้า ใช้งานวันละ 2 ชม./วัน
b. กาต้มน้ำร้อนขนาด 750 วัตต์ ใช้งานวันละ 5 ชม./วัน
c. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 1000 วัตต์ ใช้งานวันละ 30 นาที /วัน
d. ตู้เย็นขนาด ขนาด 150 วัตต์ ใช้งานวันละ 15 ชม./วัน
e. โทรทัศน์ ขนาด 70 วัตต์ ใช้งานวันละ 5 ชม./วัน
ใน 1 เดือน (30 วัน) จะเสียค่าไฟฟ้าเท่าใด เมื่อ 1 ยูนิต เท่ากับ 1.75 บาท
วิธีทำ
จาก W = P x t
= (746 x 1.5 x 2) +(750 x 5)+(1000 x 0.5)+(150 x 15) +(70 x 5)
=2,238 + 3,750 + 500 + 750 + 350
=7,588 W-h
1 วันใช้พลังงานวันละ 7, 588 W-h
คิดเป็น 7, 588 / 1,000 = 7.588 ยูนิต
ใน 30 วัน ใช้พลังงานไฟฟ้า 7.588 x 30 = 227.64 ยูนิต
เมื่อค่าไฟฟ้า คิดยูนิต ละ 1.75 บาท
ดังนั้น เสียค่าไฟฟ้า 227.64 x 1.75 = 398.37 บาท