วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รูดอล์ฟ ดีเซล

รูดอล์ฟ ดีเซล

รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปี ค.ศ. 1858 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1913 เป็นชาวเยอรมันคนแรกที่นำเครื่องจักรดีเซลแรงอัดสูงมาใช้ ดีเซลเริ่มพัฒนาเครื่องจักรเป็นชื่อของตนเอง ในปี ค.ศ. 1892 และได้รับสิทธิบัตรเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงชนิดใหม่ ซึ่งเป็นการจุดระเบิดโดยความร้อนจากการอัดอากาศในโมเลกุลมีความหนาแน่นขึ้นในกระบอกสูบ เมื่อโลเลกุลถูกบีบอัดก็จะเกิดพลังงานความร้อนขึ้น และฉัดน้ำมันเพื่อให้เกิดการสันดาป โดยไม่ใช้ประกายไฟหรือหัวเทียน เครื่องยนต์ดีเซลต้นแบบสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1897 ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ภายหลังมีการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ที่เมืองออกสบูร์ก ซึ่งมีการปรับปรุงในการออกแบบและมีการนำโลหะผสมที่น้ำหนักเบามาช่วยแก้ไขข้อบกพร่องอีกด้วยรูดอล์ฟ ดีเซล เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ในกรุงปารีสฝรั่งเศส ซึ่งพ่อแม่ของเขาย้ายมาจากเยอรมัน เขาเกิดมาในครองครัวที่มีฐานะจึงได้รับการศึกษาที่ดี เขาได้เข้ามาศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และในระดับอุดมศึกษาเขาได้ศักษาต่อที่โรงเรียนอาชีวศึกษา ที่อ๊อกซเบิร์ก เยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงมิวนิค ด้านวิศวกรรมศาสตร์ 
หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี ดีเซลได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงปารีส และได้เข้าทำงานในโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งของศาสตราจารย์คาร์ฟอนลินเด ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขาเองที่มหาวิทยาลัย การทำงานในโรงงานแห่งนี้ ดีเซลต้องทำงานในหลายตำแหน่งหน้าที่ ได้แก่ ตัวแทนซื้อขาย คนคุมงาน ประดิษฐ์ซ่อมเครื่องกล ผู้อำนวยการและที่ปรึกษา ต่อมาเมื่อลินเดเปิดโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งขึ้นในเมืองมิวนิค รูดอล์ฟ ดีเซลได้ขอลินเดย้ายไปทำงานที่นั่น
ในระหว่างนี้เอง เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร และสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซแอมโมเนียแทนการใช้พลังงานไอน้ำได้ และเครื่องยนต์ที่อาศัยหลักการสันดาป แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับรูดอล์ฟ ดีเซลมากที่สุด ก็คือ เครื่องยนต์แบบใช้อากาศอัด แต่เครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่รูดอล์ฟ ดีเซลได้ประดิษฐ์ขึ้น ก็ยังมีข้อเสียอยู่ที่ผนังกระบอกสูบไม่แข็งแรงพอที่จะต่อความดันอากาศสูงๆ ได้ ดังนั้นรูดอล์ฟ ดีเซลจึงหันมาปรับปรุงการประดิษฐ์กระบอกสูบ เครื่องยนต์ของรูดอล์ฟ ดีเซลประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1897 โดยเขาได้ใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 5 ปี รูดอล์ฟ ดีเซลได้ตั้งชื่อเครื่องยนต์ตามชื่อของเขาว่า ดีเซล ตามคำแนะนำของภรรยา
สิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล
ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง รูดอล์ฟ ดีเซลได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกจำหน่าย โดยตั้งชื่อบริษัทแห่งนี้ว่า ไรซิงเกอร์ไมเยอร์ และรูดอล์ฟ ดีเซล บริษัทของเขาได้ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง แต่ในไม่ช้ารูดอล์ฟ ดีเซลก็ต้องพบกับความเดือดร้อนแสนสาหัส เนื่องจากในขณะนั้นกฎหมายเรื่องสิทธิบัตร ยังมีความละหลวมอยู่มาก ทำให้รูดอล์ฟ ดีเซลต้องเสียเงินทองเป็นจำนวนมากสำหรับการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องในสิทธิ บัตรของเขา อีกทั้งสุขภาพของเขายังเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ เพราะความเหน็ดเหนื่อยทั้งทางกายและทางใจจากการต่อสู้ในเรื่องของสิทธิบัตรเครื่องยนต์ของเขาและต่อมาบริษัทของเขาก็ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่าง รุนแรง
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของรูดอล์ฟ ดีเซล เขาต้องท้อแท้ใจอย่างมากเพราะสิ่งที่เขาทุ่มเทอย่างหนักมาตลอดระยะเวลาต้องล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า ดังนั้นในปี ค.ศ.1913 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และไม่ได้เดินทางกลับมาอีกเลย ซึ่งภายหลังมีข่าวว่าเขา ได้หายไปในช่องแคบอังกฤษ แม้ว่ารูดอล์ฟ ดีเซลจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้สร้างคุณประโยชน์ให้กับนักประดิษฐ์รุ่นหลังเป็นอย่างมากก็คือ เครื่องยนต์ดีเซลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน

วอร์เรน บัฟเฟตต์

วอร์เรน บัฟเฟตต์

Warren Buffett KU Visit.jpg
วอร์เร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (อังกฤษWarren Edward Buffett) เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ที่โอมาฮาเนแบรสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนักลงทุนนักธุรกิจและผู้ใจบุญชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เขาเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์[4] เขาได้รับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปีค.ศ. 2008 ด้วยจำนวนเงิน 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์และเป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับสามในปี 2554 โดยมีทรัพย์สินประมาณ $50.0 พันล้าน [6]ในปี 2555 นิตยสารอเมริกันยกย่องบัฟเฟตต์เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก
บัฟเฟตต์มักจะได้รับฉายาว่าเป็น เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา [7] หรือไม่ก็ ปราชญ์แห่งโอมาฮา[8] เขามีชื่อเสียงจากปรัชญาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและความเป็นอยู่อย่างประหยัด ถึงแม้ว่าเขาจะร่ำรวยก็ตาม เขายังมีชื่อเสียงจากความใจบุญ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555 เขาได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และได้รับการรักษาสมบูรณ์ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2555

ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān)
(9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดที่บ้านตรอกโรงสูบน้ำ ตลาดน้อย เป็นบุตรของซา แซ่อึ้ง กับเซาะเซ็ง อึ๊งภากรณ์ (สกุลเดิม: แซ่เตียว;ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นภาษาไทยว่า ประสาทเสรี)[2] ชื่อ "ป๋วย" นั้น บิดาของป๋วยตั้งให้เป็นชื่อตัว ส่วนชื่อสกุลของป๋วย คือ "อึ้ง" ชื่อรุ่นคือ "เคียม" อ่านทั้งสามตัวตามลำดับประเพณีจีน สำเนียงแต้จิ๋วจะเป็น "อึ้ง ป้วย เคียม" แต่ถ้าอ่านโดดๆ วรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป ชื่อสกุลเป็น "อึ๊ง" และชื่อตัวเป็น "ป๋วย" คำว่า "ป๋วย" แปลตรงตัวได้ว่า "พูนดินที่โคนต้นไม้" เพราะตัวประกอบในอักษรระบุไว้เช่นนั้น แต่มีความหมายกว้างออกไปอีกคือ "บำรุง" "หล่อเลี้ยง" "เพาะเลี้ยง" และ "เสริมกำลัง"
กูชายชาญชาติเชื้อชาตรี
กูเกิดมาก็ทีหนึ่งเฮ้ย
กูคาดก่อนสิ้นชี-วาอาตม์
กูจักไว้ลายเว้ยโลกให้แลเห็น
— ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มารดาของป๋วย เป็นบุตรสาวคนแรกของเจ้าของร้านขายผ้าที่สำเพ็ง อยู่ใกล้ตรอกโรงโคม ส่วนบิดาเป็นคนจีน ทำงานช่วยพี่ชายที่แพปลา แถวปากคลองวัดปทุมคงคา ทั้งสองสามีภรรยาไม่ค่อยมีรายได้มากนัก แต่ก็ตั้งใจส่งลูกชายเข้าเรียน ที่แผนกภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนแพง คือปีละ 70 บาทในสมัยนั้น. เมื่อเด็กชายป๋วยอายุได้เก้าขวบ บิดาของป๋วยก็เสียชีวิต โดยไม่มีทรัพย์สินเงินทองทิ้งไว้ให้ ลุงเป็นคนรับอุปการะ ส่งเสียเงินให้เป็นรายเดือน แม้ว่าจะมีปัญหาด้านการเงิน มารดาของป๋วย ก็สนับสนุนให้เรียนหนังสือที่เดิม จนสำเร็จการศึกษา ขณะอายุได้ 18 ปี ป๋วยได้มาเป็นมาสเตอร์ หรือครู ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอนวิชาคำนวณ และภาษาฝรั่งเศส มีรายได้เดือนละ 40 บาท แบ่งให้แม่ 30 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมายและการเมือง ในปี พ.ศ. 2480. หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2481 ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาล ได้ไปเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science มหาวิทยาลัยลอนดอนซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง
ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ ศาสตราจารย์เฟรเดอริก ฮาเย็ก (ซึ่งได้รับ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี พ.ศ. 2485 ได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา

จอร์จ โซรอส

จอร์จ โซรอส

จอร์จ โซรอส (12 สิงหาคม ค.ศ. 1930 - ) เดิมชื่อ จอร์จี ชวาร์ตซ์ (ฮังการีGyörgy Schwartz) นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี เป็นนักวิเคราะห์ค่าเงิน นักลงทุนหุ้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Soros Fund Management และสถาบัน Open Society Institute
นิตยสาร ฟอร์บส์ ได้จัดให้ จอร์จ โซรอส อยู่ในอันดับที่ 35ของบุคคลที่รวยที่สุดในโลก มีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาได้บริจาคเงิน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการกุศลตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา
โซรอสเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการของ Council on Foreign Relations และยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง Center for American Progress ปัจจุบันจอร์จ โซรอส ก็ยังคงมีตัวแทนในคณะกรรมการอยู่ แม้ว่าตัวเขาเองจะคิดว่าเป็นการกล่าวชมยกยอกันมากเกินไป แต่ชาวรัสเซียและชาวตะวันตกก็มองว่าการสนับสนุนทางการเงินและการจัดการของเขา เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ Georgia’s Rose ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา
อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้เขียนถึงจอร์จ โซรอส หลังจากที่เขาออกหนังสือ The Alchemy of Finance เมื่อปี ค.ศ. 2003 ว่า จอร์จ โซรอส ได้สร้างความโดดเด่นในด้านที่เขาเป็นผู้วิเคราะห์มาก โซรอสนับได้ว่าเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล และเป็นที่รู้กันในความฉลาดหลักแหลมของเขา เพราะโซรอสจะถอนตัวเมื่อยังอยู่ในจุดที่มีความได้เปรียบ การกระทำของโซรอสได้เพิ่มแรงกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายประเทศให้กลายเป็นประเทศที่สนับสนุนสังคมเปิด
นอกจากโซรอสจะส่งเสริมเสรีทางการค้าแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือการที่ปรับให้ประชาชนเปิดรับความคิดใหม่ๆ ให้ประชนของประเทศนั้นๆ ยอมรับฟังแนวคิดและการกระทำที่แตกต่างออกไป

คาร์ล เบนซ์

คาร์ล เบนซ์

คาร์ล เบนซ์ (อังกฤษKarl Friedrich Benz) (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2387 - 4 เมษายน พ.ศ. 2472วิศวกรยานยนต์ชาวเยอรมัน และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในผู้ประดิษฐ์รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน (Benzine หรือ Gasoline) ขึ้น
ในปี พ.ศ. 2426 คาร์ล เบนซ์ ได้ตั้งบริษัท Benz & Co. Rheinische Gasmotoren-Fabrik ขึ้น (ซึ่งได้ภายหลังได้ร่วมกิจการกับ Daimler Motoren Gesellschaft เป็น Daimler-Benz AG และเมื่อปี พ.ศ. 2541 ก็ได้ร่วมกิจการกับ Chrysler Corporation เป็นบริษัท DaimlerChrysler แต่ปัจจุบันได้แยกกิจการออกจากกันแล้ว) และในปี พ.ศ. 2429 เขาไปสร้างรถยนต์ 3 ล้อ (tri-car) ซึ่งเป็นรถยนต์เพื่อการค้าคันแรก นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ประดิษฐ์ คลัชคาบูเรเตอร์, และหัวเทียนขึ้นมาอีกด้วย

โทมัส เอดิสัน

โทมัส เอดิสัน

Thomas Edison2.jpg


โทมัส อัลวา เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน

โทมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย
เอดิสันยังคงเป็นบุคคลสำคัญในสงครามกระแสไฟฟ้า (War of Currents) โดยเอดิสันพยายามผลักดันระบบไฟฟ้ากระแสตรงของบริษัท แข่งกับระบบไฟฟ้ากระแสสลับของจอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) โดยพนักงานในบริษัทของเขาได้โฆษณาชวนเชื่อความอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับโดยการฆ่าหมาแมวเป็นจำนวนหลายตัว

วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent Van gogh)

Vincent Van gogh

         วินเซนต์ แวน โก๊ะ ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียง ของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ แบบโมเดินท์ อารต์ เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย

วินเซนต์ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วินเซนต์เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อแวนโก๊ะอายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876

แวน โก๊ะก็เริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลยประกอบกับถูก ปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนค่นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเดินทาง ครั้งนี้ แวนโก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่มในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะ เรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียน การเขียนภาพ

ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลอง การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่างๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรก ขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า " โปเตโต อีทเตอร์ "

เมื่อความเหงาและความอ้างว้างเริ่มเข้ามาแกาะกุมจิตใจของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจาก หมู่บ้านและเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติ ตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์ เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุด เขาก็ได้เลิกเรียน เพื่อไปยังปารีส ทีนั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิเพราสเช่นนิสท์อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่าๆ

วินเซนต์ แวน โก๊ะ ใช้ชีวิตในตัวเมืองปารีส ได้สักพักก็เริ่มเบื่อ เขาจึงออกจากปารีส ไปในปี ค.ศ.1888 เพื่อไปยังเมืองอาเรสทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ ที่เมืองอาเรสนั้นแวน โก๊ะได้เช่าบ้านหลังหนึ่ง แล้วตกแต่งบ้านด้วยสีเหลืองทั้งหมด เขาหวังที่จะตั้ง กลุ่มศิลปินอิมเพรสเช่นนิสท์ขึ้น ในเดือนตุลาคม จอร์จีนส์ได้มาอยู่ร่วมกับเขาแต่ ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็ต้องขาดสะบั้นลงในคืนวันคริสตมาส อีฟ จอร์จีนส์ ได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแวน โก๊ะ ทำให้แวน โก๊ะ เกิดบ้าเลือดขึ้นมาแล้วตัดใบหู ของตัวเอง ทำให้จอร์จีนส์จากไป และตัวของเขาเองต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การแสดงอาการต่างๆ ของแวน โก๊ะ นั้น ทำให้เห็นถึงสภาพจิตใจและประสาทที่ผิดปกติ ในที่สุดเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้า เป็นเวลา 1 ปีเต็ม เมื่อ แวน โก๊ะ ออกจากโรงพยาบาล เขาได้ไปอาศัยอยู่กับศิลปิน นักฟิสิกส์ ได้ประมาณ 2 เดือน และในวันที่ 27 กรกฎาคมของปี ค.ศ.1890 เขาได้ยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา

ช่วงชีวิตของ แวน โก๊ะตอนที่อยู่ที่อาเรสนั้น ได้สร้างผลงานเขียนภาพที่ยิ่งใหญ่เอาไว้ มากมาย เขาเขียนภาพของธรรมชาติอันงดงาม ภาพทุ่งหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์ ภาพของดอกไม้นานาชนิด และภาพดอกไอริสที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถขายได้ถึง 53.9 ล้านดอลลาร์ในเวลานั้น
  • ค.ศ.1353 วินเซนต์ แวนก๊อก เกิดเมื่อวันที่30 มีนาคม ประเทศ ฮออลแลนด์
  • ค.ศ.1894-68 ศึกษาชั้นต้นในท้องถิ่น
  • ค.ศ.1869 เริ่มทำงานในห้องภาพกูปีล์ในกรุงเฮก เมื่ออายุ16ปี
  • ค.ศ.1873-76 เริ่มสนใจเรื่องศาสนา หลังจากลาออกจากงานในห้องภาพได้ไปเป็นครูที่โรงเรียนในแรมสเกท เมืองเล็กๆในอังกฤษ ต่อมาย้ายไปสอนและเทศน์ที่ไอเวิลเวิร์ธ เมืองเล็กๆใกล้กรุงลอนดอน
  • ค.ศ1877 สอบเข้าคณะเทววิทยาที่มหาลัยอัมสเตอร์ดัม แต่ได้ละทิ้งการศึกษาและจุดมุ่งหมายด้านนี้เสียในเวลาต่อมา
  • ค.ศ.1878-79 เป็นนักเทศน์ผู้จาริกไปในเขตเหมืองแร่เมืองบอริเนจในเบลเยี่ยมอุทิศตนให้กับชาวเหมือ งที่วาสเมอใกล้เมืองมอนส์ โดยพยายามแก้ไขปัญหาความยากแค้นอย่างเต็มทีแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก ถึงแม้จะมีศรัทธาในศาสนาอย่างลึกซึ้ง แต่เขารู้สึกเหมือนถูกเรียกร้องให้เป็นศิลปินมากกว่า
  • ค.ศ.1880-85 ปี1880-81 ได้ไปศึกษากับจิตกรหลายคนในกรุงบรัสเซลส์ ศึกษาในกรุงเฮกในปี1881-83และที่เมืองแอนทะเวิร์ป ระหว่าง ค.ศ.1885-86 พร้อมกับศึกษาและเขียนภาพชีวิตชนบทของชาวเหมืองและชาวไร่ชาวนา ภาพคนกินมันฝรั่งเป็นผลงานที่แสดงอิทธิพลการเขียนแบบเก่าของดัตช์
  • ค.ศ.1886-87 ย้ายไปอยู่กับธีโอน้องชายที่ปารีส ธีโอทำงานอยู่ในห้องภาพที่นั่น ดังนั้นจึงเป็นผู้กว้างขวางและรู้จักศิลปินในแวดวงหลายคน แวนก๊อกรู้จักกับศิลปินกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสต์และสนใจศึกษาเทคนิคภาพเขียนของแปร์ตองก ีเป็นแนวทางเขียนภาพของเขา สีที่สดขึ้น การป้ายสีเป็นไปอย่างอิสระและเส้นสายเป็นลูกคลื่นที่ได้แบบอย่างจากภาพเขียนของญีปุ่ นในช่วงชีวิตนี้ธีโอคือผู้ช่วยเหลือสำคัญทั้งด้านการเงินและทางอารมณ์ของแวนก๊อก ซึ่งถูกกดดันเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่ยอมรับ
  • ค.ศ.1888 ป่วยเป็นโรคจิตและทะเลาะกับโกแกงจนถึงกับตัดหูข้างซ้ายของตน ต่อมาได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอาร์เลส แชร์ทเรอมีและอูฟร์
  • ค.ศ.1889-90 ย้ายไปอยู่ที่อาร์เลสเมืองชนบทในฝรั่ง เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่ละภาพเต็มไปด้วยความรู้สึกอันรุนแรงของตัวจิตรกรที่รู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม การปรากฎของสิ่งต่างๆประจำวัน ถูกแปรเป็นแผ่นสีที่สดใสและเส้นสายที่สั่นสะเทือนเป็นลูกคลื่น อันเป็นสัญลักษณ์ของพลังสากลที่ควบคุมสรรพสิ่งในโลกไว้ ผลงานชิ้นเยี่ยมในข่วงนี้คือ ต้นไซเปรสกับหมู่บ้าน บ้านนาหลังใหญ่และดอกทานตะวัน
  • วินเซนต์ แวน โก๊ะ จบชีวิตด้วยการยิงตัวตายในวัย37ปี

Ching, Frank (Francis D.K.)

Ching, Frank (Francis D.K.) 
(เกิดเมื่อ พศ.2486) ปัจจุบันอายุ 70 ปี

ผู้เขียนตำราสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นด้านเนื้อหาและลายเส้น
ท่านหนึ่งของโลก ท่านเกิดที่ฮาวาย 
ศึกษาสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัย นอรเทอดัมม์ 
ซึ่งท่านได้เขียนบันทึกลายเส้นเพื่อใช้ประกอบในการสอน
ในรายวิชา และยังเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่องค์ความรู้
ทางสถาปัตยกรรม

ในปี พศ.2517 ได้ตีพิมพ์ Building Construction Illustrated and Architecture: Form, Space & Order
ปี พศ. 2523 - 2549 สอนสถาปัตยกรรม University of Washington 
ปี พศ .2533 เป็นอาจารย์พิเศษเยือนสอน Tokyo Institute 
of Technology พศ.2536 ที่Chinese University of 
Hong Kong

ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ Nottingham Trent University, New Asia College, Chinese University of 
Hong Kong ถูกยกย่องเป็นผู้เป็นเลิศทางการเขียนตำรา
อ้างอิงทางสถาปัตยกรรมในระดับนานาชาติ


Ludwig Mies van der Rohe

Ludwig Mies van der Rohe
ผู้บุกเบิกแห่งวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
           ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ (เยอรมัน: Ludwig Mies van der Rohe) (27 มีนาคม ค.ศ. 1886 – 17 สิงหาคม ค.ศ. 1969) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน[1] เขามักรู้จักในชื่อ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ซึ่งเป็นนามสกุลของเขา โดยนักศึกษาอเมริกันและอื่น ๆ
 ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ รวมถึงวอลเตอร์ โกรเปียส และเลอกอร์บูซีเย ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้บุกเบิกแห่งวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ มีสก็เป็นคนหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่สนใจที่เสาะแสวงหารูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ๆ ที่สามารถสื่อถึงยุคใหม่ เฉกเช่นที่ในยุคคลาสสิคหรือยุคกอธิค ที่มีมาก่อน เขาสร้างสรรค์รูปแบบสถาปัตยกรรมในศตวรรษที่ 20 ที่เห็นชัดถึงความโปร่งและความเรียบง่าย อาคารออกแบบของเขาจะใช้วัสดุสมัยใหม่ อย่างเช่น เหล็ก แผ่นกระจก เพื่อแสดงขอบเขตสถาปัตยกรรมภายใน เขามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ใช้โครงสร้างน้อยชิ้นในการจัดระเบียบโครงสร้างอย่างสมดุล ต่อพื้นที่เปิดโล่งอิสระ เขาเรียกอาคารของเขาว่า สถาปัตยกรรม “ผิวหนังและกระดูก” เขายังเสาะหาเหตุผล ในการออกแบบที่เป็นแนวทางกับขั้นตอนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ที่เป็นที่รู้จักในวิธีที่เรียกว่า “น้อยดีกว่ามาก” (less is more) และ God is in the details
ข้อมูลส่วนตัวของ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์
ชื่อ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์
สัญชาติ เยอรมัน 1886-1938/อเมริกัน 1938-1969
วันเกิด 27 มีนาคม ค.ศ. 1886
สถานที่เกิด อาเคิน, รัฐนอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน, เยอรมนี
วันเสียชีวิต 17 สิงหาคม ค.ศ. 1969 (83 ปี)
สถานที่เสียชีวิต ชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์, สหรัฐอเมริกา
การทำงานของ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์
อาคารเด่นของ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์
: Barcelona Pavilion
: Tugendhat House
: Crown Hall
: Farnsworth House
: 860-880 Lake Shore Drive
: Seagram Building
: New National Gallery
รางวัลและเกียรติยศของ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์
: Order Pour le Mérite (1959)
: Royal Gold Medal (1959)
: AIA Gold Medal (1960)
: Presidential Medal of Freedom (1963)

อังเดร มารี แอมแปร์ (Andre Marie Ampere) เจ้าของชื่อหน่วยวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า “แอมแปร์”

อังเดร มารี แอมแปร์ (Andre Marie Ampere) 




เจ้าของชื่อหน่วยวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า “แอมแปร์”   “อังเดร มารี แอมแปร์” (Andre Marie Ampere) เป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ชอบคิดและชอบทดลองมาตั้งแต่เด็ก พอๆ กับการเป็นครู การค้นพบของเขาทำให้เขาได้รับเกียรติโดยนักวิทยาศาสตร์ ในสมัยต่อมาได้ใช้ชื่อของเขาคือ “แอมแปร์” เป็นหน่วยของการวัดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำ

          อังเดร มารี แอมแปร์ เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ปีค.ศ.1775 ในฝรั่งเศส บิดามีอาชีพเป็นพ่อค้า แต่เมื่อทราบว่าลูกชายสนใจในทางคณิตศาสตร์ก็ให้การสนับสนุนโดยส่งเขาไปเรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุดในเมือง หลังจากเรียนจบเขาก็ทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ เคมี และภาษาศาสตร์ ในโรงเรียนราษฎร์แห่งหนึ่งในเมืองลีออง และได้เป็นศาสตราจารย์ผู้ควบคุมการทดลองทางฟิสิกส์ประจำวิทยาลัยในฝรั่งเศส ในปีค.ศ.1824
          ในระหว่างที่แอมแปร์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์นั้น เขาก็ได้ค้นพบจากการทดลองว่า กระแสไฟฟ้าไม่เพียงแต่จะทำให้เข็มแม่เหล็กบ่ายเบนเท่านั้น แม้แต่กระแสไฟฟ้าด้วยกันก็ยังมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น โดยการที่เขาใช้ตัวนำคือเส้นลวดต่อกับแบตเตอรี่แบบวอลตาอิค 2 เส้น และวางเส้นลวดทั้งสองให้ขนานกัน ปรากฏว่า เส้นลวดที่ทีกระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน แต่เมื่อกลับทิศทางกันเส้นลวดตัวนำก็จะผลักกัน แอมแปร์จึงสรุปเป็นกฎว่า “เส้นลวดที่มีกระแสไฟไหลผ่านมีอำนาจเช่นเดียวกับแม่เหล็ก”
          จากผลการทดลองของเขาทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมานำชื่อของเขาคือ “แอมแปร์” มาตั้งเป็นหน่วยของการวัดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำคือกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่สามารถแยกเงินบริสุทธิ์ออกจากสารละลายเกลือเงินไนเตรท 0.1 กรัม ที่อุณหภูมิ 20o เซลเซียส ได้หนัก 0.001,118 กรัม ในเวลา 1 นาที
          แอมแปร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์เซลล์ เมื่อมีอายุ 61 ปี

เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)

เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) 



นักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไฟฟ้า การพิมพ์ และการเกษตรบุคคลสำคัญของโลกอีกผู้หนึ่ง คือ “เบนจามิน แฟรงคลิน” (Benjamin Franklin) เป็นนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไฟฟ้า การพิมพ์ และการเกษตร แม้เขาจะมีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียนน้อยมาก แต่จากการเป็นนักอ่าน นักค้นคว้าและนักประดิษฐ์นี่เอง ทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น

          เขาเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ปี ค.ศ.1706 ในประเทศอังกฤษ มีพี่น้องทั้งหมด 17 คน เขาเป็นคนที่ 15 บิดามีอาชีพเป็นคนผลิตเทียนไขกับสบู่ ครอบครัวได้ลี้ภัยทางศาสนาจากประเทศอังกฤษไปตั้งรกรากอยู่ในอเมริกา ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่เขายังอายุน้อย บิดาได้ส่งเขาเข้าเรียนในโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้าน แต่ผลการเรียนไม่ค่อยดีนักเพราะอ่อนคำนวณ บิดาจึงให้ออกจากงานโรงเรียนมาช่วยงานทางบ้าน ซึ่งเขาไม่ค่อยชอบงานด้านนี้นัก เพราะชอบงานทางด้านหนังสือมากกวาา บิดาจึงส่งไปอยู่กับพี่ชายที่เมืองบอสตัน ซึ่งมีกิจการโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง
          เบนจามิน แฟรงคลิน เริ่มฝึกงานช่างพิมพ์ด้วยเหตุว่าเขาสนใจงานด้านนี้มาก่อน จึงตั้งอกตั้งใจทำงานประกอบกับสนใจทางด้านหนังสือ จึงฝึกเขียนบทความลงในหนังสือ โดยสอดไว้ในกองต้นฉบับโดยไม่บอกให้พี่ชายทราบ เจมส์ซึ่งเป็นพี่ชายเมื่ออ่านดูก็ชอบใจและนำลงพิมพ์ออกสู่ท้องตลาดโดยไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของใคร ข้อเขียนนั้นได้รับความนิยมอย่างสูง จนมีการลงพิมพ์ผลงานชิ้นอื่นๆ อีกหลายชิ้น แต่พอความจริงเปิดเผยออกมา เจมส์กลับโกรธมาก และไม่ยองลงเรื่องที่เบนจามินเขียนอีกเลย เมื่อขัดใจกับพี่ชายจึงลาออกจากงานเดินทางไปเมืองฟิลาเดลเฟีย เพื่อทำงานด้านการพิมพ์ของตัวเองขึ้นบ้าง
          ในขณะเดียวกันเขาก็เริ่มสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยเฉพาะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติคือฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครให้คำตอบที่ถูกต้องได้ ในปีพ.ศ.1752 จึงเริ่มค้นหาความจริงเกี่ยวกับไฟฟ้าในอากาศ โดยใช้วิธีชักว่าวขึ้นไปบนท้องฟ้าเวลาฝนตกซึ่งเป็นการทำที่เสี่ยงอันตรายมาก ว่าวของเขาทำจากผ้าแพรปิดบนโครง มีเหล็กแหลมติดที่ตัวว่าว ปลายสายผูกลูกกุญแจทองเหลืองและใช้ริบบิ้นผูกกับสายว่าวอีกทีหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่จับ พอฝนเริ่มตั้งเค้า เขาก็เริ่มส่งว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า พอโดนฝนสายเชือกที่ชักว่าวก็เปียกโชก มันจึงกลายเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี และไฟฟ้าในกลุ่มเมฆก็เคลื่อนที่จากตัวว่าวมาสู่ลูกกุญแจทางสายป่าน เบนจามินทราบดีว่าริบบิ้นเป็นฉนวนป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ตัวเขา ดังนั้นเขาจึงไม่ได้รับอันตรายจากการทดลองครั้งนี้
          เขาทำการทดลองต่อไป โดยเอาเศษหญ้าจ่อชิดลูกกุญแจ ก็เกิดประกายไฟจากลูกกุญแจมาสู่มือของเขา และเมื่อเขาลองเอากุญแจหย่อนลงเกือบถึงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้าระหว่างพื้นดินกับลูกกุญแจอีก เขาจึงลงความเห็นว่าไฟฟ้าที่มีอยู่ในอากาศนั่นเองเป็นตัวการทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า การจะป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการถูกฟ้าผ่าก็คือการระบายประจุออกจากไฟฟ้าที่มีสะสมอยู่ในก้อนเมฆในอากาศให้ลดน้อยลง ซึ่งจะทำได้ก็โดยการใช้โลหะปลายแหลมและสายไฟฟ้าที่เป็นสื่อไฟฟ้าตั้งไว้ในที่สูงแล้วต่อมายังพื้นดิน และฝังส่วนปลายที่จ่อลงดินไว้กับแผ่นโลหะขนาดใหญ่ให้ลึกเพื่อเป็นการระบายประจุไฟฟ้า แต่ต้องไม่ให้สายที่ต่อนั้นโค้งงอจนเป็นมุมฉาก เพราะอาจเกิดการลัดวงจรได้ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ซึ่งเรียกกันว่า “สายล่อฟ้า”
          นอกจากการคิดประดิษฐ์สายล่อฟ้าแล้ว เขาก็ยังมีความรอบรู้เกี่ยวกับเกษตร โดยเป็นคนแรกที่แนะให้เกษตรกรแก้ความเป็นกรดของดินโดยการโรยปูนขาว ซึ่งนับเป็นประโยชน์ในการเกษตรกรรมเป็นอันมาก
          จากการเป็นนักคิดนักประดิษฐ์นี่เอง ทำให้เขาได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติจากราชสมาคมอังกฤษให้เข้าเป็นสมาชิกด้วย ซึ่งการเข้าเป็นราชสมาคมอังกฤษสมัยนั้นนับว่ายากที่สุด และสิ่งที่น่าสรรเสริญเกี่ยวกับตัวเขาอีกอย่างหนึ่งนั่นคือ ผลงานและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของเขานั้น ไม่เคยนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์เลย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อื่นมีสิทธิ์ที่จะประดิษฐ์สิ่งนั้นขึ้นใช้ได้ นอกจากจะไม่หวงผลงานแล้ว เขากลับส่งเสริมและแนะนำบุคคลอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เขารู้อีกด้วย นับว่าเขาเป็นคนที่น่ายกย่องสรรเสริญที่สุดคนหนึ่ง
          เมื่ออเมริกาได้รับอิสรภาพ เขาก็ได้รับการติดต่อให้เข้ารับตำแหน่งหน้าที่อันใหญ่โตผู้หนึ่งในคณะผู้บริหาร แต่เขาก็ตอบปฏิเสธไปโดยเห็นว่าตัวเองอายุมากแล้ว และอยากจะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบกับงานเขียนและงานพิมพ์ที่เขาชื่นชอบ เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ขณะมีอายุได้ 84 ปี

อเลสซานโดร โวลตา : Alessandro Volta

อเลสซานโดร โวลตา : Alessandro Volta
เกิด        วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 ที่เมืองโคโม (Como) ประเทศอิตาลี (ltaly)
เสียชีวิต วันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1827 ที่เมืองโคโม (Como) ประเทศอิตาลี (ltaly)
ผลงาน   - ประดิษฐ์เครื่องประจุไฟฟ้าสถิต (Electrophorus)
             - ประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor)
             - อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดชนิดของประจุไฟฟ้า (Electroscope)
             - ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชื่อว่า โวลตาอิค ไพล์ (Voltaic Pile) หรือแบตเตอรี่ไฟฟ้า


         โวลต์ (Volt) เป็นชื่อของหน่วยวัดแรงเคลื่อนที่ทางไฟฟ้า ซึ่งมาจากชื่อของนักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขึ้น สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ในปัจจุบันไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นมากต่อชีวิตประจำวัด แม้ว่าไฟฟ้าจะถูกค้นพบตั้งแต่ปี 600 ก่อนคริสต์
ศักราช โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกนามว่าเทลีส (Thales) แต่การค้นพบของเทลีสเป็นเพียงการพบไฟฟ้าสถิต (Static
Electricity) เทลีสได้นำแท่งอำพัน ถูกับเสื้อผ้าที่ทำด้วยขนสัตว์อย่างรวดเร็วจากนั้นเขาพบว่าแท่งอำพันสามารถดูดวัตถุเบา ๆ
อย่างกระดาษชิ้นเล็ก ๆ เส้นผม ขน หรือเศษฝุ่นบนพื้นได้ การที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะว่า เมื่อนำแท่งอำพันไปถูกับขนสัตว์ทำให้อิเล็กตรอน
เคลื่อนที่จากผ้าขนสัตว์ไปยังแท่งอำพัน ทำให้แท่งอำพันเกิดประจุไฟฟ้าบลให้พับวัตถุนั้นจนเกิดความสมดุลของประจุไฟฟ้าแท่ง
อำพันก็จะไม่ดูดวัตถุนั้นได้อีก การค้นพบของเทลีสถือว่าเป็นเพียงก้าวแรกของความเจริญทางด้านไฟฟ้าเท่านั้น ต่อมาโวลตา
นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีได้ทำให้ไฟฟ้ามีความเจริญมากขึ้นไปอีกโดยการประดิษฐ์เครื่องมือหลายอย่างที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ผลงานที่
สำคัญและมีชื่อเสียงก็คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ไฟฟ้า อันเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมาก ในการที่
จะผลิตกระไฟฟ้า

         โวลตาเกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 ที่เมืองโคโม ประเทศอิตาลี ประวัติส่วนตัวของเขาไม่มีใครทราบแน่ชัด รู้เพียง
แต่ว่าโวลตาอยู่ในความอุปการะของญาติคนหนึ่ง โวลตาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนพับลิคแห่งเมืองโคโม และเข้าศึกษาต่อใน
วิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองโคโม หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคโมแล้ว โวลตาได้เข้าทำงานเป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์
ที่โรงเรียนรอยัล เซมมิเนร์ โรงเรียนมัธยมในเมืองโคโมนั่นเอง ต่มาในปี ค.ศ. 1771 เขาได้รับการแต่งตั้งในเป็นศาสตราจารย์
ประจำภาควิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยโคโม และในปี ค.ศ. 1774 เขาได้รับการแต่งตั้งในเป็นศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ใน
มหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้โวลตาได้ศึกษาเกี่ยวกับไฟฟ้า และในปี ค.ศ. 1775 โวลตา
ได้ประดิษฐ์เครื่องประจุไฟฟ้าสถิตขึ้น เขาเรียกเครื่องนี้ว่า "เครื่องประจุไฟฟ้าสถิต (Electrophorus)" ในปีต่อมาเขาได้ทำการ
ค้นคว้าเกี่ยวกับก๊าซมาร์ช ผลจากการทดลองค้นคว้าเขาได้เขียนลงในหนังสือชื่อว่า Lettere Sull Aria Ifiammabile delle
Paludi เขาไม่ได้หยุดการค้นคว้าแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1777 เขาได้ประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าขึ้นอีกหลายชิ้นได้แก่
คาแพคซิเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) และ อิเล็กโทรสโคป เป็น อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดชนิดของประจุ
ไฟฟ้า (Electroscopes) นอกจากนี้เขายังได้ประดิษฐ์ตะเกียงแก๊ส และออดิโอมิเตอร์ (Audio meter) อีกด้วย จากผลงานต่าง ๆ
การประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าหลายชนิด ทำให้ โวลตามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1779 เขาได้รับเชิญจาก
มหาวิทยาลัยปาเวีย (Pavia University) ให้เข้าดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ แม้ว่าเขาจะมีหน้าที่การงาน
และชื่อเสียงมากขึ้น โวลตาก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับไฟฟ้าตลอดเวลา

         จนกระทั่ววันหนึ่งเขาได้รับทราบข่าวว่ามีการค้นพบไฟฟ้าจากกบของลุยจิ กัลวานี (Luigi Galvani) นักวิทยาศาสตร์ชาว
อิตาลีซึ่งพบโดยบังเอิญขณะสอนวิชากายวิภาคเกี่ยวกับกบ เมื่อกัลวานีใช้คีมแตะไปที่ขากบที่วางอยู่บนจานโลหะ ทันใดนั้นขากบก็
กระตุกขึ้นมา สร้างความประหลาดใจให้แก่เขาและนักศึกษาภายในห้องนั้น จากนั้นเขาก็ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้ซ้ำอีกหลายครั้ง
ซึ่งผลก็ออกมาเหมือนกันทุกครั้ง จากผลการทดลอง กัลวานีจึงสรุปว่ากบมีไฟฟ้าอยู่ทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นเมื่อใช้คีมแตะตัวกบ เพราะ
คีมทำจากเหล็กซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้า

         เมื่อโวลตาได้มีโอกาสอ่านหนังสือของกัลวานีทำให้เขาทำการทดลองตามแบบของกัลวานีแต่ทดลองเพิ่มเติมกับสิ่งอื่น เช่น ลิ้น
โดยนำเหรียญเงินมาวางไว้บนลิ้น และนำเรียนทองแดงมาไว้ใต้ลิ้น ปรากฏว่าเขารู้สึกถึงรสเค็มและลิ้นกระตุก จากผลการทดลอง
โวลตาพบว่า อันที่จริงแล้วกบไม่ได้มีไฟฟ้า แต่การที่ขากบนั้นเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของโลหะที่ถูกเชื่อมโยงด้วยกรดเกลือซึ่งมีอยู่
ในสัตว์ รวมถึงกบและมนุษย์ด้วย จากผลการทดลองครั้งนี้ โวลได้ทดลองสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้น โดยการใช้ชามอ่าง 2 ใบ จากนั้นก็ใส่
น้ำเกลือ และหนังฟอกที่ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไป จากนั้นนำแผ่นเงินและสังกะสี ขนาดประมาณเท่าเหรียญเงิน มาประกบกันจำนวน 8 คู่
โดยเริ่มจากแผ่นสังกะสีก่อนแล้วจึงเป็นแผ่นเงิน จากนั้นจึงนำมาวางบงบนโลหะยาวเพื่อเชื่อมโลหะทั้งหมดเป็นแท่งที่ 1 ส่วนอีกแท่ง
หนึ่งทำให้ลักษณะเดียวกันแต่ใช้แผ่นเงินวางก่อนแล้วจึงใช้แผ่นสังกะสี จากนั้นนำโลหะทั้ง 2 แท่ง ใส่ลงในชามอ่างทั้ง 2 ใบ ซึ่งวาง
อยู่ใกล้กันแต่ไม่ติดกัน จากนั้นใช้ลวดต่อระหว่างแท่งโลหะในอ่างทั้ง 2 อ่าง เมื่อทดสอบปรากฏว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่บนเส้นลวดนั้น

        ในปี ค.ศ. 1788 โวลตาได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชื่อว่า โวลตาอิคไพล์ (Voltaic Pile) หรือที่รู้จัก
กันดีในชื่อของ แบตเตอรี่ไฟฟ้า (Battery) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดแรกของโลกที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีโดย
แบตเตอรี่ ของโวลตาใช้แผ่นทองแดงวางเป็นแผ่นแรก ต่อด้วยกระดาษชุบกรดเหลือ หรือกรดกำมะถัน ต่อจากนั่นใช้แผ่นสังกะสี
และกระดาษชุบกรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ซ้อนสลับกันเช่นนี้เรื่อยไปประมาณ 100 แผ่น จนถึงแผ่นสังกะสีเป็นแผ่นสุดท้าย ต่อจาก
นั้นใช้ลวดเส้นหนึ่ง ปลายข้างหนึ่ง่อกับแผนทองแดงแผ่นแรกส่วนอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับแผ่นสังกะสีแผ่นสุดท้าย ด้วยวิธีการเช่นนี้
จะทำให้ลวดเส้นดังกล่าวมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอด

         ต่อจากนั้นโวลตาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับโวลตาอิค ไพล์ต่อไป จนพบว่ายิ่งใช้แผ่นโลหะมากแผ่นขึ้นเท่าไรก็จะทำให้เกิดกระแส
ไฟฟ้ามากขึ้นตามลำดับและได้นำหลักการดังกล่าวมาสร้างเครื่องโวลตาอิค เซล (Vlotaic Cell) โดยใช้โวลตาอิค ไพล์หลาย ๆ อันมา
ต่อกันแบบอนุกรมซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ได้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น และแรงกว่าที่ได้จากโวลตา อิค ไพล์

         และในปีเดียวกัน โวลตาได้ส่งรายงานผลการทดลองของเขาไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of
London) โดยเขาตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า Philosophical Transaction ซึ่งทางราชสมาคมได้ให้ความสนใจ และเผยแพร่
ผลงานของเขาลงในวารสารของทางสมาคมและเมื่อผลงานของเขาได้เผยแพร่ออกไป ทำให้เขามีชื่อเสียงได้รับการยกย่องจากวง
การวิทยาศาสตร์ และสาธารณชนเป็นอย่างมาก ผลงานของโวลตาชิ้นนี้ยังทำให้เกิดกระแสการค้นคว้าไฟฟ้าในวงการวิทยาศาสตร์
มากขึ้น ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขาสามารถล้มล้างทฤษฎีไฟฟ้าในสัตว์ (The Principle of Animal Electricity) ของกัลวานี
ลงไปได้ แต่กาารค้นพบของกัลวานีก็ยังมีข้อดี คือ ทำให้โวลตาสามารถค้นพบกระแสไฟฟ้าได้เป็นผลสำเร็จ

         จากผลงานชิ้นนี้ทำให้โวลตาได้รับรางวัลจากสถาบันวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ ค.ศ. 1791 เขาได้รับการยกย่องให้เป็น
บุคคลสำคัญแห่งปี และได้รับเหรียญคอพเลย์ (Copley Medal) จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1802 เขาได้
รับเชิญจากพระเจ้านโปเลียนที่ 1 (King Napoleon I) แห่งฝรั่งเศส โวลตาได้นำการทดลองไปแสดงต่อหน้าพระพักตร์ซึ่งทรง
ชอบพระทัยเป็นอย่างมาก ทรงมอบเงินจำนวน 6,000 ปรังค์ ให้กับโฑวลตาเป็นรางวัลในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้โวลตายังได้รับรางวัล
เหรียญทองจากสถาบันแห่งปารีส (Institute de Paris) หลังจากนั้นโวลตาได้เดินทางกลับประเทศอิตาลี ซึ่งประชาชนให้การ
ต้อนรับเขาเป็นอย่างดี อีกทั้งเขายังได้รับเชิญให้เข่าร่วมเป็นสมาชิกของสภาซีเนต แห่งลอมบาร์ดี้, ได้รับพระราชทานยศท่านเคานท์
(Count) และได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งคณบดีประจำคณะปรัชญาที่ มหวิทยาลัยปาดัง (Padua University)

         โวลตาได้ทำการค้นคว้างานด้านไฟฟ้าของเขาอยู่ตลอด และได้พิมพ์เผยแพร่ผลงานลงในวารสารชื่อว่า Sceltad Opuscoli
ในประเทศอิตาลี

         ในปี ค.ศ. 1819 โวลตาได้ลาออกจากทุกตำแหน่งหน้าที่ เพราะเขาอายุมากแล้วต้องการจะพักผ่อน โวลตาเสียชีวิตในวันที่ 5
มีนาคม ค.ศ. 1827 ที่เมืองโคโม ประเทศอิตาลี จากการค้นพบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และบุกเบิกงานด้านไฟฟ้าให้มีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1881 ภายหลังจากที่โวลตาเสียชีวิตไปแล้ว 54 ปี ทางสภาไฟฟ้านานาชาติ (The International
Electrical Congress) ได้มีมติในที่ประชุมว่าควรตั้งชื่อหน่วยวัดแรงเคลื่อนที่ต่อเนื่องของไฟ