วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รูดอล์ฟ ดีเซล

รูดอล์ฟ ดีเซล

รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปี ค.ศ. 1858 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1913 เป็นชาวเยอรมันคนแรกที่นำเครื่องจักรดีเซลแรงอัดสูงมาใช้ ดีเซลเริ่มพัฒนาเครื่องจักรเป็นชื่อของตนเอง ในปี ค.ศ. 1892 และได้รับสิทธิบัตรเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงชนิดใหม่ ซึ่งเป็นการจุดระเบิดโดยความร้อนจากการอัดอากาศในโมเลกุลมีความหนาแน่นขึ้นในกระบอกสูบ เมื่อโลเลกุลถูกบีบอัดก็จะเกิดพลังงานความร้อนขึ้น และฉัดน้ำมันเพื่อให้เกิดการสันดาป โดยไม่ใช้ประกายไฟหรือหัวเทียน เครื่องยนต์ดีเซลต้นแบบสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1897 ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ภายหลังมีการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ที่เมืองออกสบูร์ก ซึ่งมีการปรับปรุงในการออกแบบและมีการนำโลหะผสมที่น้ำหนักเบามาช่วยแก้ไขข้อบกพร่องอีกด้วยรูดอล์ฟ ดีเซล เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ในกรุงปารีสฝรั่งเศส ซึ่งพ่อแม่ของเขาย้ายมาจากเยอรมัน เขาเกิดมาในครองครัวที่มีฐานะจึงได้รับการศึกษาที่ดี เขาได้เข้ามาศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และในระดับอุดมศึกษาเขาได้ศักษาต่อที่โรงเรียนอาชีวศึกษา ที่อ๊อกซเบิร์ก เยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงมิวนิค ด้านวิศวกรรมศาสตร์ 
หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี ดีเซลได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงปารีส และได้เข้าทำงานในโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งของศาสตราจารย์คาร์ฟอนลินเด ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขาเองที่มหาวิทยาลัย การทำงานในโรงงานแห่งนี้ ดีเซลต้องทำงานในหลายตำแหน่งหน้าที่ ได้แก่ ตัวแทนซื้อขาย คนคุมงาน ประดิษฐ์ซ่อมเครื่องกล ผู้อำนวยการและที่ปรึกษา ต่อมาเมื่อลินเดเปิดโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งขึ้นในเมืองมิวนิค รูดอล์ฟ ดีเซลได้ขอลินเดย้ายไปทำงานที่นั่น
ในระหว่างนี้เอง เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร และสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซแอมโมเนียแทนการใช้พลังงานไอน้ำได้ และเครื่องยนต์ที่อาศัยหลักการสันดาป แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับรูดอล์ฟ ดีเซลมากที่สุด ก็คือ เครื่องยนต์แบบใช้อากาศอัด แต่เครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่รูดอล์ฟ ดีเซลได้ประดิษฐ์ขึ้น ก็ยังมีข้อเสียอยู่ที่ผนังกระบอกสูบไม่แข็งแรงพอที่จะต่อความดันอากาศสูงๆ ได้ ดังนั้นรูดอล์ฟ ดีเซลจึงหันมาปรับปรุงการประดิษฐ์กระบอกสูบ เครื่องยนต์ของรูดอล์ฟ ดีเซลประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1897 โดยเขาได้ใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 5 ปี รูดอล์ฟ ดีเซลได้ตั้งชื่อเครื่องยนต์ตามชื่อของเขาว่า ดีเซล ตามคำแนะนำของภรรยา
สิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล
ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง รูดอล์ฟ ดีเซลได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกจำหน่าย โดยตั้งชื่อบริษัทแห่งนี้ว่า ไรซิงเกอร์ไมเยอร์ และรูดอล์ฟ ดีเซล บริษัทของเขาได้ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง แต่ในไม่ช้ารูดอล์ฟ ดีเซลก็ต้องพบกับความเดือดร้อนแสนสาหัส เนื่องจากในขณะนั้นกฎหมายเรื่องสิทธิบัตร ยังมีความละหลวมอยู่มาก ทำให้รูดอล์ฟ ดีเซลต้องเสียเงินทองเป็นจำนวนมากสำหรับการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องในสิทธิ บัตรของเขา อีกทั้งสุขภาพของเขายังเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ เพราะความเหน็ดเหนื่อยทั้งทางกายและทางใจจากการต่อสู้ในเรื่องของสิทธิบัตรเครื่องยนต์ของเขาและต่อมาบริษัทของเขาก็ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่าง รุนแรง
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของรูดอล์ฟ ดีเซล เขาต้องท้อแท้ใจอย่างมากเพราะสิ่งที่เขาทุ่มเทอย่างหนักมาตลอดระยะเวลาต้องล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า ดังนั้นในปี ค.ศ.1913 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และไม่ได้เดินทางกลับมาอีกเลย ซึ่งภายหลังมีข่าวว่าเขา ได้หายไปในช่องแคบอังกฤษ แม้ว่ารูดอล์ฟ ดีเซลจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้สร้างคุณประโยชน์ให้กับนักประดิษฐ์รุ่นหลังเป็นอย่างมากก็คือ เครื่องยนต์ดีเซลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน

วอร์เรน บัฟเฟตต์

วอร์เรน บัฟเฟตต์

Warren Buffett KU Visit.jpg
วอร์เร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (อังกฤษWarren Edward Buffett) เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ที่โอมาฮาเนแบรสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนักลงทุนนักธุรกิจและผู้ใจบุญชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เขาเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์[4] เขาได้รับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปีค.ศ. 2008 ด้วยจำนวนเงิน 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์และเป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับสามในปี 2554 โดยมีทรัพย์สินประมาณ $50.0 พันล้าน [6]ในปี 2555 นิตยสารอเมริกันยกย่องบัฟเฟตต์เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก
บัฟเฟตต์มักจะได้รับฉายาว่าเป็น เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา [7] หรือไม่ก็ ปราชญ์แห่งโอมาฮา[8] เขามีชื่อเสียงจากปรัชญาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและความเป็นอยู่อย่างประหยัด ถึงแม้ว่าเขาจะร่ำรวยก็ตาม เขายังมีชื่อเสียงจากความใจบุญ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555 เขาได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และได้รับการรักษาสมบูรณ์ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2555

ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān)
(9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดที่บ้านตรอกโรงสูบน้ำ ตลาดน้อย เป็นบุตรของซา แซ่อึ้ง กับเซาะเซ็ง อึ๊งภากรณ์ (สกุลเดิม: แซ่เตียว;ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นภาษาไทยว่า ประสาทเสรี)[2] ชื่อ "ป๋วย" นั้น บิดาของป๋วยตั้งให้เป็นชื่อตัว ส่วนชื่อสกุลของป๋วย คือ "อึ้ง" ชื่อรุ่นคือ "เคียม" อ่านทั้งสามตัวตามลำดับประเพณีจีน สำเนียงแต้จิ๋วจะเป็น "อึ้ง ป้วย เคียม" แต่ถ้าอ่านโดดๆ วรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป ชื่อสกุลเป็น "อึ๊ง" และชื่อตัวเป็น "ป๋วย" คำว่า "ป๋วย" แปลตรงตัวได้ว่า "พูนดินที่โคนต้นไม้" เพราะตัวประกอบในอักษรระบุไว้เช่นนั้น แต่มีความหมายกว้างออกไปอีกคือ "บำรุง" "หล่อเลี้ยง" "เพาะเลี้ยง" และ "เสริมกำลัง"
กูชายชาญชาติเชื้อชาตรี
กูเกิดมาก็ทีหนึ่งเฮ้ย
กูคาดก่อนสิ้นชี-วาอาตม์
กูจักไว้ลายเว้ยโลกให้แลเห็น
— ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มารดาของป๋วย เป็นบุตรสาวคนแรกของเจ้าของร้านขายผ้าที่สำเพ็ง อยู่ใกล้ตรอกโรงโคม ส่วนบิดาเป็นคนจีน ทำงานช่วยพี่ชายที่แพปลา แถวปากคลองวัดปทุมคงคา ทั้งสองสามีภรรยาไม่ค่อยมีรายได้มากนัก แต่ก็ตั้งใจส่งลูกชายเข้าเรียน ที่แผนกภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนแพง คือปีละ 70 บาทในสมัยนั้น. เมื่อเด็กชายป๋วยอายุได้เก้าขวบ บิดาของป๋วยก็เสียชีวิต โดยไม่มีทรัพย์สินเงินทองทิ้งไว้ให้ ลุงเป็นคนรับอุปการะ ส่งเสียเงินให้เป็นรายเดือน แม้ว่าจะมีปัญหาด้านการเงิน มารดาของป๋วย ก็สนับสนุนให้เรียนหนังสือที่เดิม จนสำเร็จการศึกษา ขณะอายุได้ 18 ปี ป๋วยได้มาเป็นมาสเตอร์ หรือครู ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอนวิชาคำนวณ และภาษาฝรั่งเศส มีรายได้เดือนละ 40 บาท แบ่งให้แม่ 30 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมายและการเมือง ในปี พ.ศ. 2480. หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2481 ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาล ได้ไปเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science มหาวิทยาลัยลอนดอนซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง
ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ ศาสตราจารย์เฟรเดอริก ฮาเย็ก (ซึ่งได้รับ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี พ.ศ. 2485 ได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา

จอร์จ โซรอส

จอร์จ โซรอส

จอร์จ โซรอส (12 สิงหาคม ค.ศ. 1930 - ) เดิมชื่อ จอร์จี ชวาร์ตซ์ (ฮังการีGyörgy Schwartz) นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี เป็นนักวิเคราะห์ค่าเงิน นักลงทุนหุ้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Soros Fund Management และสถาบัน Open Society Institute
นิตยสาร ฟอร์บส์ ได้จัดให้ จอร์จ โซรอส อยู่ในอันดับที่ 35ของบุคคลที่รวยที่สุดในโลก มีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาได้บริจาคเงิน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการกุศลตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา
โซรอสเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการของ Council on Foreign Relations และยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง Center for American Progress ปัจจุบันจอร์จ โซรอส ก็ยังคงมีตัวแทนในคณะกรรมการอยู่ แม้ว่าตัวเขาเองจะคิดว่าเป็นการกล่าวชมยกยอกันมากเกินไป แต่ชาวรัสเซียและชาวตะวันตกก็มองว่าการสนับสนุนทางการเงินและการจัดการของเขา เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ Georgia’s Rose ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา
อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้เขียนถึงจอร์จ โซรอส หลังจากที่เขาออกหนังสือ The Alchemy of Finance เมื่อปี ค.ศ. 2003 ว่า จอร์จ โซรอส ได้สร้างความโดดเด่นในด้านที่เขาเป็นผู้วิเคราะห์มาก โซรอสนับได้ว่าเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล และเป็นที่รู้กันในความฉลาดหลักแหลมของเขา เพราะโซรอสจะถอนตัวเมื่อยังอยู่ในจุดที่มีความได้เปรียบ การกระทำของโซรอสได้เพิ่มแรงกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายประเทศให้กลายเป็นประเทศที่สนับสนุนสังคมเปิด
นอกจากโซรอสจะส่งเสริมเสรีทางการค้าแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือการที่ปรับให้ประชาชนเปิดรับความคิดใหม่ๆ ให้ประชนของประเทศนั้นๆ ยอมรับฟังแนวคิดและการกระทำที่แตกต่างออกไป

คาร์ล เบนซ์

คาร์ล เบนซ์

คาร์ล เบนซ์ (อังกฤษKarl Friedrich Benz) (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2387 - 4 เมษายน พ.ศ. 2472วิศวกรยานยนต์ชาวเยอรมัน และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในผู้ประดิษฐ์รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน (Benzine หรือ Gasoline) ขึ้น
ในปี พ.ศ. 2426 คาร์ล เบนซ์ ได้ตั้งบริษัท Benz & Co. Rheinische Gasmotoren-Fabrik ขึ้น (ซึ่งได้ภายหลังได้ร่วมกิจการกับ Daimler Motoren Gesellschaft เป็น Daimler-Benz AG และเมื่อปี พ.ศ. 2541 ก็ได้ร่วมกิจการกับ Chrysler Corporation เป็นบริษัท DaimlerChrysler แต่ปัจจุบันได้แยกกิจการออกจากกันแล้ว) และในปี พ.ศ. 2429 เขาไปสร้างรถยนต์ 3 ล้อ (tri-car) ซึ่งเป็นรถยนต์เพื่อการค้าคันแรก นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ประดิษฐ์ คลัชคาบูเรเตอร์, และหัวเทียนขึ้นมาอีกด้วย

โทมัส เอดิสัน

โทมัส เอดิสัน

Thomas Edison2.jpg


โทมัส อัลวา เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน

โทมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย
เอดิสันยังคงเป็นบุคคลสำคัญในสงครามกระแสไฟฟ้า (War of Currents) โดยเอดิสันพยายามผลักดันระบบไฟฟ้ากระแสตรงของบริษัท แข่งกับระบบไฟฟ้ากระแสสลับของจอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) โดยพนักงานในบริษัทของเขาได้โฆษณาชวนเชื่อความอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับโดยการฆ่าหมาแมวเป็นจำนวนหลายตัว

วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent Van gogh)

Vincent Van gogh

         วินเซนต์ แวน โก๊ะ ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียง ของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ แบบโมเดินท์ อารต์ เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย

วินเซนต์ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วินเซนต์เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อแวนโก๊ะอายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876

แวน โก๊ะก็เริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลยประกอบกับถูก ปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนค่นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเดินทาง ครั้งนี้ แวนโก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่มในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะ เรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียน การเขียนภาพ

ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลอง การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่างๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรก ขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า " โปเตโต อีทเตอร์ "

เมื่อความเหงาและความอ้างว้างเริ่มเข้ามาแกาะกุมจิตใจของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจาก หมู่บ้านและเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติ ตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์ เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุด เขาก็ได้เลิกเรียน เพื่อไปยังปารีส ทีนั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิเพราสเช่นนิสท์อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่าๆ

วินเซนต์ แวน โก๊ะ ใช้ชีวิตในตัวเมืองปารีส ได้สักพักก็เริ่มเบื่อ เขาจึงออกจากปารีส ไปในปี ค.ศ.1888 เพื่อไปยังเมืองอาเรสทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ ที่เมืองอาเรสนั้นแวน โก๊ะได้เช่าบ้านหลังหนึ่ง แล้วตกแต่งบ้านด้วยสีเหลืองทั้งหมด เขาหวังที่จะตั้ง กลุ่มศิลปินอิมเพรสเช่นนิสท์ขึ้น ในเดือนตุลาคม จอร์จีนส์ได้มาอยู่ร่วมกับเขาแต่ ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็ต้องขาดสะบั้นลงในคืนวันคริสตมาส อีฟ จอร์จีนส์ ได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแวน โก๊ะ ทำให้แวน โก๊ะ เกิดบ้าเลือดขึ้นมาแล้วตัดใบหู ของตัวเอง ทำให้จอร์จีนส์จากไป และตัวของเขาเองต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การแสดงอาการต่างๆ ของแวน โก๊ะ นั้น ทำให้เห็นถึงสภาพจิตใจและประสาทที่ผิดปกติ ในที่สุดเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้า เป็นเวลา 1 ปีเต็ม เมื่อ แวน โก๊ะ ออกจากโรงพยาบาล เขาได้ไปอาศัยอยู่กับศิลปิน นักฟิสิกส์ ได้ประมาณ 2 เดือน และในวันที่ 27 กรกฎาคมของปี ค.ศ.1890 เขาได้ยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา

ช่วงชีวิตของ แวน โก๊ะตอนที่อยู่ที่อาเรสนั้น ได้สร้างผลงานเขียนภาพที่ยิ่งใหญ่เอาไว้ มากมาย เขาเขียนภาพของธรรมชาติอันงดงาม ภาพทุ่งหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์ ภาพของดอกไม้นานาชนิด และภาพดอกไอริสที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถขายได้ถึง 53.9 ล้านดอลลาร์ในเวลานั้น
  • ค.ศ.1353 วินเซนต์ แวนก๊อก เกิดเมื่อวันที่30 มีนาคม ประเทศ ฮออลแลนด์
  • ค.ศ.1894-68 ศึกษาชั้นต้นในท้องถิ่น
  • ค.ศ.1869 เริ่มทำงานในห้องภาพกูปีล์ในกรุงเฮก เมื่ออายุ16ปี
  • ค.ศ.1873-76 เริ่มสนใจเรื่องศาสนา หลังจากลาออกจากงานในห้องภาพได้ไปเป็นครูที่โรงเรียนในแรมสเกท เมืองเล็กๆในอังกฤษ ต่อมาย้ายไปสอนและเทศน์ที่ไอเวิลเวิร์ธ เมืองเล็กๆใกล้กรุงลอนดอน
  • ค.ศ1877 สอบเข้าคณะเทววิทยาที่มหาลัยอัมสเตอร์ดัม แต่ได้ละทิ้งการศึกษาและจุดมุ่งหมายด้านนี้เสียในเวลาต่อมา
  • ค.ศ.1878-79 เป็นนักเทศน์ผู้จาริกไปในเขตเหมืองแร่เมืองบอริเนจในเบลเยี่ยมอุทิศตนให้กับชาวเหมือ งที่วาสเมอใกล้เมืองมอนส์ โดยพยายามแก้ไขปัญหาความยากแค้นอย่างเต็มทีแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก ถึงแม้จะมีศรัทธาในศาสนาอย่างลึกซึ้ง แต่เขารู้สึกเหมือนถูกเรียกร้องให้เป็นศิลปินมากกว่า
  • ค.ศ.1880-85 ปี1880-81 ได้ไปศึกษากับจิตกรหลายคนในกรุงบรัสเซลส์ ศึกษาในกรุงเฮกในปี1881-83และที่เมืองแอนทะเวิร์ป ระหว่าง ค.ศ.1885-86 พร้อมกับศึกษาและเขียนภาพชีวิตชนบทของชาวเหมืองและชาวไร่ชาวนา ภาพคนกินมันฝรั่งเป็นผลงานที่แสดงอิทธิพลการเขียนแบบเก่าของดัตช์
  • ค.ศ.1886-87 ย้ายไปอยู่กับธีโอน้องชายที่ปารีส ธีโอทำงานอยู่ในห้องภาพที่นั่น ดังนั้นจึงเป็นผู้กว้างขวางและรู้จักศิลปินในแวดวงหลายคน แวนก๊อกรู้จักกับศิลปินกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสต์และสนใจศึกษาเทคนิคภาพเขียนของแปร์ตองก ีเป็นแนวทางเขียนภาพของเขา สีที่สดขึ้น การป้ายสีเป็นไปอย่างอิสระและเส้นสายเป็นลูกคลื่นที่ได้แบบอย่างจากภาพเขียนของญีปุ่ นในช่วงชีวิตนี้ธีโอคือผู้ช่วยเหลือสำคัญทั้งด้านการเงินและทางอารมณ์ของแวนก๊อก ซึ่งถูกกดดันเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่ยอมรับ
  • ค.ศ.1888 ป่วยเป็นโรคจิตและทะเลาะกับโกแกงจนถึงกับตัดหูข้างซ้ายของตน ต่อมาได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอาร์เลส แชร์ทเรอมีและอูฟร์
  • ค.ศ.1889-90 ย้ายไปอยู่ที่อาร์เลสเมืองชนบทในฝรั่ง เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่ละภาพเต็มไปด้วยความรู้สึกอันรุนแรงของตัวจิตรกรที่รู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม การปรากฎของสิ่งต่างๆประจำวัน ถูกแปรเป็นแผ่นสีที่สดใสและเส้นสายที่สั่นสะเทือนเป็นลูกคลื่น อันเป็นสัญลักษณ์ของพลังสากลที่ควบคุมสรรพสิ่งในโลกไว้ ผลงานชิ้นเยี่ยมในข่วงนี้คือ ต้นไซเปรสกับหมู่บ้าน บ้านนาหลังใหญ่และดอกทานตะวัน
  • วินเซนต์ แวน โก๊ะ จบชีวิตด้วยการยิงตัวตายในวัย37ปี