วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไดโอดชนิดต่าง ๆ

ไดโอดชนิดต่าง ๆ


  • ไดโอดดีเท็คเตอร์ (Detector Diode) ไดโอดประเภทนี้จะใช้ในวงจรเครื่องรับ-ส่งวิทยุ โดยใช้เป็นตัวแยกสัญญาณวิทยุ หรือ ลดสัญญาณรบกวน

  • ไดโอดเร็กติฟาย (Rectifier Diode) ไดโอดประเภทนี้จะใช้ในวงจรเรียงกระแส (Rectifier) หรือวงจรแปลงไฟสลับเป็นไฟตรงนั่นเอง โดยไดโอดที่พบเห็นกันส่วนใหญ่จะเป็นไดโอดประเภทนี้

  • ไดโอดกำลัง (Power Diode) ไดโอดประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นโลหะขนาดใหญ่ เพื่อช่วยในการระบายความร้อนภายในตัว ส่วนใหญ่จะใช้ในงานแหล่งจ่ายกำลัง ซึ่งมีกระแสสูง 

  • ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยจะทำงานในสภาวะไบอัสกลับ และมีคุณสมบัติในการรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ที่ตกคร่อมตัวมัน ให้มีค่าคงที่ จึงนิยมใช้ในวงจรรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า( Voltage Regulator)

  • ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode) มักเรียกย่อว่า แอลอีดี (LED) เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษโดยเมื่อได้รับแรงดันไบอัสตรง จะเปล่งแสงออกมาได้ ซึ่งมีทั้ง สีแดง เขียว ฟ้า ส้ม เหลือง ฯลฯ ตามสารที่ใช้ทำ มักใช้ในส่วนของการแสดงผลในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะกินไฟน้อยกว่าหลอดไฟมาก

  • ไดโอดรับแสง (Photo Diode) ไดโอดที่ออกแบบมาเพื่อปรับเปลี่ยนค่าตามความเข้มของแสงที่เข้ามา โดยจะมีลักษณะเป็นช่องหน้าต่างเล็กๆ ไว้ใช้ในการรับแสง ซึ่งอาจเป็นแสงสว่างธรรมดาหรือแสงอินฟาเรด มักใช้กับวงจรตรวจจับสัญญาณ หรือ ในวงจรควบคุมระยะไกล หรือที่เรียกว่า รีโมท



ข้อควรระวังในการใช้งานไดโอด
1. ในการใช้งานไบอัสตรงจะต้องมีตัวต้านทานจำกัดกระแสต่อไว้เสมอ มิฉะนั้น ไดโอดอาจจะไหม้ได้ เพราะมีกระแสสูงเกินไป โดย
ค่าของตัวต้านทานจำกัดกระแส =  แรงดันแหล่งจ่ายไฟ-แรงดันตกคร่อมไดโอด/กระแสที่ต้องการให้ไหลผ่านไดโอด
2. การใช้งานในสภาวะไบอัสกลับจะต้องระวังไม่ให้ไดโอดได้รับแรงดันไบอัสกลับเกินกว่าค่าแรงดันไบอัสกลับสูงสุดที่ทนได้ เพราะอาจทำให้ ไดโอดระเบิดได้
3. การใช้งานไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี จะต้องระวังไม่ให้กระแสเกินกว่า 20 mA เพราะจะทำให้แอลอีดีร้อนจัดจนเสียหายได้
4. ไม่ควรให้แอลอีดีได้รับแรงดันไบอัสกลับ เพราะอาจทำให้เสียหายได้ทันที หากไม่ทราบขั้วแรงดันที่จะต่อ แอลอีดี ควรใช้ไดโอดป้องกัน การต่อกลับขั้วไว้ด้วย
5. ค่าแรงดันที่ตกคร่อมแอลอีดีในสภาวะทำงานจะแตกต่างกันไปตามสารที่ใช้ทำโดยทั่วไปจะเป็นดังนี้ แอลอีดี สีแดง จะมีแรงดันตกคร่อม 1.6-2.0 โวล์ท


แอลอีดี สีส้ม              จะมีแรงดันตกคร่อม 1.8-2.7    โวล์ท
แอลอีดี สีเขียว           จะมีแรงดันตกคร่อม 2.2 – 3.0 โวล์ท
แอลอีดี สีเหลือง        จะมีแรงดันตกคร่อม 2.2 – 3.0 โวล์ท
แอลอีดี อินฟราเรด    จะมีแรงดันตกคร่อม 2.2 – 3.0 โวล์ท